การศึกษาและพัฒนายานยนต์อเนกประสงค์สนับสนุนภารกิจดับไฟป่าขนาดเล็ก สำหรับส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาและพัฒนายานยนต์อเนกประสงค์สนับสนุนภารกิจดับไฟป่าขนาดเล็กครั้งนี้เป็นการศึกษากระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงานดับไฟป่าและการเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าหน่วยชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า ด้วยกระบวนการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) โดยรวบรวมขั้นตอนและกระบวนการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าเต็งรังร่วมกับป่าเบญจพันธุ์ ซึ่งมีการสะสมเชื้อเพลิงจำนวนมากจากการทับถมของใบไม้แห้งที่หล่นในช่วงเปลี่ยนฤดูบนพื้นป่าทับถมเป็นชั้นเชื้อเพลิง ซึ่งไฟป่าที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงของเปลวไฟมากกว่าปกติ ส่วนขั้นตอนการพัฒนาและออกแบบใช้กระบวนการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ดับไฟป่าจากกระบวนการ “ระดมสมอง (Brain Storming) ” ใช้เทคนิคกลุ่ม (Group Technique) เพื่อการระดมความคิดปัจจุบันโดยเน้นการระดมความรู้และประสบการณ์ทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในสายวิชาการออกแบบ ตามเทคนิคการระดมสมองเกิดจากแนวคิดของ ออสบอร์น (Alex F. Osborne) ซึ่งผลการระดมความคิดชิ้นงานผลิตภัณฑ์ประกอบยานยนต์อเนกประสงค์นั้นควรเน้นที่ ก. กระเป๋าสะพายหลังฉีดดับไฟป่า (แรงดันสูงแบบสูบมอเตอร์) ข. กระเป๋าสะพายหลังฉีดดับไฟป่า (แรงดันสูบด้วยแรงเจ้าหน้าที่) ค. กระเป๋าสะพายหลังเป่าลมแรงดันสูง (แรงดันสูงแบบสูบมอเตอร์) จากนั้นสร้างแบบร่างทางความคิดการออกแบบ (Sketch Design) เริ่มพัฒนาแบบร่างผลิตภัณฑ์ พิจารณาเพื่อเลือกแบบยานยนต์ที่เหมาะสม โดยใช้กระบวนการสร้างข้อจำกัดทางการออกแบบจากมวลแนวความคิดที่รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นและข้อมูลเชิงลึกจากการสัมภาษณ์ และประมวลความคิดผ่านการวิเคราะห์เชิงทฤษฏีการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในการสร้างสรรค์รูปแบบยานยนต์อเนกประสงค์พร้อมอุปกรณ์เสริม พบว่าคุณภาพทางกายภาพด้านประโยชน์ใช้สอยและการใช้งานการควบคุมไฟป่าและรองรับภารกิจป่าเปียกมีความเหมาะสมโดยรวมมีความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.06 , S.D.=0.372) คุณภาพทางกายภาพด้านความสวยงามและแสดงถึงเอกลักษณ์ขององค์กรมีความเหมาะสมโดยรวมมีความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
=3.90 , S.D.=0.303) ในส่วนการประเมิน ค่าความพึงพอใจด้านอุปกรณ์เสริมในการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่ามีความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
=4.23 , S.D.=0.233) ความพึงพอใจความแข็งแรงทนทานในการใช้งานควบคุมไฟป่ามีความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
=4.00 , S.D.=0.456)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ทวีศักดิ์ นพเกสร. 2551. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครราชสีมา: โรงพิมพ์พิมพ์ลักษณ์.
[3] ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา.2557. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มีน เซอร์วิช.
[4] เกรียงศักดิ์ เจริญวงษ์ศักดิ์. 2546. การคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ซัคเซสมีเดีย.
[5] จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. 2556. การศึกษาแนวทางบูรณาการฐานข้อมูลพิพิธฑภัณฑ์ท้องถิ่นกับการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบระดับอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 12(1), น.56-63
[6] อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2545. ออกแบบอุตสาหกรรม 6 กรุงเทพฯ: วินด์ เซิรฟ เลเบล จำกัด.
[7] อุดมศักดิ์ สาริบุตร .2549. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนร์สโตร์.
[8] มณฑลี ศาสนนันทน์. 2550. การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและวิศวกรรมย้อนรอย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.