การศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นารีรัตน์ ดีสวน
จิตรลดา ซิวดอน

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยจำแนกตาม วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) ความต้องการในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน ของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.60,S.D.= 0.07) 2) ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความต้องการในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกด้าน ยกเว้นด้านการจัดกิจกรรมเสรี/การเล่นตามมุมของครูที่มีวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ดีสวน น., & ซิวดอน จ. (2014). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), 46–54. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/173190
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. 2546. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

[2] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2554. การประเมินความจำเป็นในการพัฒนาสมรรถภาพครูเทคโนโลยีสารสนเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(1), น.11-20

[3] สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา. 2555. ข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัด นครราชสีมา : [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.koratdla.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 25 กุมภาพันธ์ 2555)

[4] กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 2547. คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

[5] Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. 1970. Determing Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. (30), P.608.

[6] บุญชม ศรีสะอาด. 2553. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

[7] กระทรวงศึกษาธิการ. 2546. แนวคิดและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

[8] สุทธิชา มาลีเลศ. 2551. สภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กวัยอนุบาลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[9] สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2541. ชุดฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูง เล่ม 4 บริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สมชาย อิมเมจจิ้ง.

[10] สุนัน ขันทะสิทธิ์. 2552. การศึกษาการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.