การใช้รูปแบบการสอนแบบการนำเสนอมโนมติล่วงหน้าในบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม เรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติ

Main Article Content

ทองดี พันขุนทด
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี
ฉันทนา วิริยเวชกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมตามรูปแบบการสอนแบบการ  นำเสนอมโนมติล่วงหน้าเรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพนักงานที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมตามรูปแบบการสอนแบบการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า เรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติ  กับพนักงานที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมที่ไม่มีรูปแบบการสอนแบบการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า ­ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานบริษัท พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด แผนกผลิตภัณท์ดูแลเส้นผมและแผนกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก  (Simple Random Sampling)  โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มทดลองบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมเรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติที่มีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า (Advance organizer) จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมเรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติที่ไม่มีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยการนำเสนอมโนมติล่วงหน้าจำนวน 20 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมเรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติที่มีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า (Advance organizer) และบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมเรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติที่ไม่มีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมเรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติที่มีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า (Advance organizer) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67- 1.00 ค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.50 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และด้วยการทดสอบค่าที (t- test Independent)


ผลการวิจัยพบว่า  (1)  บทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมเรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติที่มีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า (Advance organizer)  มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.73) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}=4.53) (2) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมเรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติที่มีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า(Advance organizer) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.00:83.10  (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพนักงานที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมที่มีการประยุกต์การเรียนแบบการนำเสนอมโนมติล่วงหน้า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าพนักงานที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมที่ไม่มีการประยุกต์การเรียนแบบการนำเสนอมโนมติล่วงหน้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
พันขุนทด ท., เพ็ชร์แสงศรี ศ., & วิริยเวชกุล ฉ. (2014). การใช้รูปแบบการสอนแบบการนำเสนอมโนมติล่วงหน้าในบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม เรื่องการใช้เครื่องบรรจุหลอดอัตโนมัติ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), 30–37. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/173184
บท
บทความวิจัย

References

[1] ธนรัตน์ สมบูรณ์. 2553. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องมาโครมีเดียแคปติเวท.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ทางอาชีวะและเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[2] กรุณา สืบอุดม.2536.การศึกษาเปรียบเทียบผลการ เรียนรู้และความคงทนใน การจำวิชาของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3ที่เรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติสามแบบ. ปริญญานิพนธ์ มศว. ประสานมิตร

[3] ธนรัตน์ สมบูรณ์. 2553. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องมาโครมีเดียแคปติเวท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ทางอาชีวะและเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[4] สุภาพร โนนศรีชัย. 2551. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้หลักการเรียนรู้อย่างมีความหมายและการสอนสิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้าสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[5] ชิตณรงค์ อักษรศรี. 2552. บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนเรื่องแรงและความดัน. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม,8(1), น.100-105.

[6] สิริวรรณ จันทร์งาม. 2548. การพัฒนาบทเรียน ช่วยสอนตามรูปแบบการสอนโดยใช้สิ่งช่วยจัด มโนมติล่วงหน้า (ADVANCE ORGANIZER MODEL) เรื่องปริมาตรและพื้นผิว ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

[7] จุน มิกิ. 2554. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไวยากรณ์พื้นฐานวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.