ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของครูเกษตร 2) ความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูเกษตร และ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสมรรถนะของครูเกษตร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูเกษตร 196 คน จาก 196 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (อีสานใต้) 6 เขต จากจำนวน 402 แห่ง โดยใช้ตารางสุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า ครูเกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 63.4) มีอายุระหว่าง 50 – 59 ปี (ร้อยละ 54.5) อายุราชการ 21 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 50.9) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 57.1) สอนตรงตามสาขาวิชาชีพ (ร้อยละ 59.8) รายได้ต่อเดือน 30,000 ขึ้นไป (ร้อยละ 58.9) ดำรงตำแหน่งครู คศ.3 (ร้อยละ 52.7) สอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ร้อยละ 68.8) มีประสบการณ์สอนวิชาเกษตร 21 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 43.8) มีวิชาสอนมากกว่า 3 วิชา (ร้อยละ 80.4) มีหน้าที่อื่น ๆ นอกเหนือจากการสอนในกลุ่มสาระ (ร้อยละ 87.5) และพัฒนาตนเองตามสายงาน ตามหน้าที่ และตามความสนใจ น้อยกว่า 3 ครั้งต่อปี โดยมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะหลักในภาพรวมในระดับมาก (= 4.40, S.D.= 0.52) และต้องการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงาน ภาพรวมในระดับมาก (
= 4.42, S.D.= 0.54) เมื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความต้องการสมรรถนะ พบว่า จำนวนวิชาที่สอน (X10) มีความสัมพันธ์ที่ผันแปรตามกันกับสมรรถนะของครูเกษตร (Y) อยู่ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญ (r = .288, p =< .001)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Meesuk, P. 2015. Research for the development of vocational education instruction: challenge under the profession. Industrial Education journal, 14(2), pp. 734 – 741.
Ministry of Education. 2008. Basic Education Core Curriculum, 2008. Bangkok: Agricultural Cooperative Club of Thailand Press.
Saduak, W. Expert Level Teacher, Occupation and Technology Section. Interview. (15th July, 2018).
Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. 2005. Manual of Government Teacher Development to be Advisory Level Teachers. pp. 10.
Ministry of Education. 2007. Document of Curriculum Development for Transformation Leader Teachers to Cope with Decentralization. Nakhon Pathom: Institute of Teacher and Educational Personal Development. pp. 6.
Information System for Educational Administration. 2013. Basis Data of Lower and Upper secondary Schools in Northeastern Thailand. [Online] Available: https://data.bopp-obec.info/emis. (7th July, 2018).
Srisa–ard, B. 2010. Basic Research. 8th ed. Bangkok: Suwiriyasat.
Trimongkonkul, P. 2000. Research Design. Bangkok: Kasetsart University.
Chansirisira, P. 2017. Development core competency and performance efficiency of government teachers in northeastern thailand. Mahasarakham: Mahasarkham University Press. Suthiparithat journal, 31, pp. 144–158.
Buakhom, K, Phoklin, S. and Atsawaphum, S. 2015. A Guideline for Developing Disciplines and Ethics of Government Teachers. Doctor of Education Program in Education Administration. Buabandit journal of education administration, 15, pp. 271–278.
Buranapaet, S. 2014. Teacher Competency at Basic Education Schools under the Supervision of Kanchanaburi Primary School Service Area 3. Kanchanaburi Rajabhat University.
Koonmeei, K. Khaigratok, T. and Channgam, S. 2014. The Study of Needs in Performance Competency Development of Teachers under the Jurisdiction of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Offices 1-5. The 6th NPRU National Academic Conference 2014. (30 – 31 May 2104).
Hamontree, N. 2014. Guidelines on the competence development of teachers under Phranakhon si Ayutthaya primary educational service area office 1. VRU Research and Development Journal Science and Technology, 10(2), pp. 177–185.
McClelland, David C. 1973. “Testing for Competence Rather than Intelligence”. American Psychologist, 28, pp. 1-24.