การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความคิดทางเรขาคณิต เรื่องวงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม THE GEOMETER’S SKETCHPAD (GSP) ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนเรื่อง วงกลมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเรื่อง วงกลมของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาระดับความคิดทางเรขาคณิตก่อนและหลังเรียนเรื่อง วงกลมของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP)ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทวีธาภิเศก เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 สุ่ม 1ห้องเรียน จำนวน 32 คน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s sketchpad (GSP) ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องวงกลมและแบบวัดความคิดทางเรขาคณิต เรื่องวงกลม แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยฉบับก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบทดสอบคู่ขนาน (โดยมีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.53 และ 0.68ตามลำดับ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-test one group t-test for dependent samples โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วงกลมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องวงกลมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความคิดทางเรขาคณิตหลังเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียนโดยมากที่สุดอยู่ในระดับ 2 และระดับ 3
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Wanvipar sutthikiant. 1999. A Development of Multimedia Computer Assisted Instruction in Mathematics. Bangkok: Srinakharinwirot University.
Chaweewan Sawetamalya. 2001. Teaching mathematics : a sourcebook of activities, and strategies. Bangkok: Suwiriyasan.
Crowley, M. L. 1987. The van Hiele model of the development of geometric thought. Learning and teaching geometry. USA: NCTM.
Royal Thai Government Gazette. 1999. National Education Act B.E. 2542. Retrieved November 24, 2559, form http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm
Jindarat Phonok. 2014. Flipped Classroom. Retrieved July 22, 2559, form https://www.royin.go.th/?s=flipped+classroom
Supatta Outamung. 2015. Flipped Classroom : A DREAM COME TRUE IN TEACHING THAI LANGUAGE. Journal of Education Faculty of Education Srinakharinwirot University, 16(1), p. 51-58.
Vicharn Panich. 2013. Teacher teaching Flipped Classroom for students (2 nd edition). Bangkok: The siam commercial foundation.
Sams A., & et.al. 2014. Flipped Learning Retrieved 14 July 2017 https://flippedlearning.org/wp-content/uploads/2016/07/FLIP_handout_FNL_Web.pdf
Wannakarn Boonyok Sirirat Petsangsri and Krissana Kiddee . 2018. The Development of Online Learning Using Flipped Classroom to Enhance Learning Achievement on Presentation Using Computer Software for Grade 10 Students. Journal of Industrial Education King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 17(2), p. 32-40.
Thanawit Thannamtip. 2013. Effect of Learning Activities Using Inquiry Medthod on Circle by Using The Geometer’s Sketchpad Program for Mathayomsuksa three Students at Yothinburana School. Kasetsart Education Review, 28(2), p. 111-116.