การศึกษากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อออกแบบชุดกิจกรรมศิลปะสำหรับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็ก

Main Article Content

สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์
วริศรา เกตุสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยการศึกษากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อออกแบบชุดกิจกรรมศิลปะสำหรับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ทางศิลปะสำหรับเด็ก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มครูผู้สอนเด็กอนุบาล โรงเรียนวัดลาดปลาเค้าและโรงเรียนกัลยวิทย์ ทั้งหมดจำนวน 17 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) เพื่อออกแบบชุดกิจกรรมศิลปะสำหรับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็ก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชุดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบชุดกิจกรรมศิลปะ 2. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิก จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิก


ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ กิจกรรมสร้างสรรค์และกิจกรรมเสรี ผลการวิเคราะห์โทนสี คือ โทนสีฟ้า โทนสีเขียว โทนแดง โทนสีส้ม โทนสีเหลือง ผลการวิเคราะห์รูปร่าง คือ รูปร่างอิสระ รูปร่างธรรมชาติและผลการวิเคราะห์ลักษณะงาน คือ งานวาดภาพและระบายสี จากแบบภาพร่างทั้งหมด 18 รูปแบบ รูปแบบที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปออกแบบชุดกิจกรรมศิลปะ คือ รูปแบบที่ 1, รูปแบบที่ 3 และรูปแบบที่ 10 และเมื่อนำมาวิเคราะห์ความเหมาะสมในการผลิตต้นแบบจริง พบว่า รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.47, S.D. = 0.56) และจากแบบร่างบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 5 รูปแบบ เมื่อนำมาวิเคราะห์ความเหมาะสมในการผลิตบรรจุภัณฑ์ พบว่า ลำดับที่ 1 คือ รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.90, S.D. = 0.42)

Article Details

How to Cite
บุรีคำพันธุ์ ส., & เกตุสุวรรณ์ ว. (2019). การศึกษากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อออกแบบชุดกิจกรรมศิลปะสำหรับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็ก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 78–88. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/150084
บท
บทความวิจัย

References

The National Institute for Early Childhood Education.Office of the National Education Commission. 2002. Policies and education programs for preschool children (0-5 years) Year 2002-2006. Bangkok: Prikwarn graphic.

Veena Prachagool. 2006. Promoting creativity in early childhood education with the media player. Journal of Academic, 9(4), p. 20-25.

Wirun tangcharoen. 1996. Design. Bangkok: Odeon Store.

Channarong Pornrungroj. 1999. Special Children's Art “Art for all”. Bangkok: O.S.Printing House.

Issares Kumsiri. 2010. Study and Development of Corrugated Board Partition. Master of Science in Industrial Education Program in Technology of Industrial Product Design Faculty of Industrial Education King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

Udomsak Saributr. 2007. Furniture design. Bangkok: Odeon Store.

Chayanin Chinnawong. 2015. A Study and Design Packaging of Nakhonchisri Pomelo in Nakhonpathom

Pirapong Gulpisal. 2002. The Brain Child Development with Arts. Bangkok: 21 Century.

Waewimol Kongsatien and Kanittha Ruangwannasak. 2017. Toys Design for Skeletal Muscle Development of Kids Age between 3-5 years Old. Suan Sunandha Academic & Research Review, 11(1), p. 35 Province. Master of Science in Industrial Education Program in Technology of Industrial Product Design Faculty of Industrial Education King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

Thananya Onsri and Songwut Egwutvongsa. 2017. Study and Development Playgrounds Field for Children

Yuvadee Phontharaphong, et al. 2011. Art Educational Media Design to Emotional Development For Cerebral Palsy Children. Bachelor of Technology (Industrial Product Design) Bachelor of Technology (Packaging Design) Faculty of Architecture and Design Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.