ความสัมพันธ์ของการประกอบวิชาชีพ ความรู้สึกเป็นสุขจากการทำงาน และความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานของนักจิตวิทยาคลินิกไทย

Main Article Content

ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของการประกอบวิชาชีพต่อความรู้สึกเป็นสุขจากการทำงานและความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานของนักจิตวิทยาคลินิกไทย ในการศึกษาภาคตัดขวางนี้เก็บข้อมูลจากนักจิตวิทยาคลินิกจำนวน 204 คนโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการประกอบวิชาชีพ และแบบวัด ProQOL-5 ฉบับภาษาไทย โดยส่งไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้


            จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าการประกอบวิชาชีพของนักจิตวิทยาคลินิก 4 ด้านมีความสัมพันธ์ทางเดียวกับความรู้สึกเป็นสุขจากการทำงาน และการประกอบวิชาชีพ 3 ด้านมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับภาวะหมดพลัง และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการประกอบวิชาชีพทั้ง 5 ด้านกับความเครียดจากบาดแผลทางใจระดับทุติยภูมิ และพบว่าการประกอบวิชาชีพ 2 ด้าน ได้แก่ การประยุกต์จิตวิทยาคลินิกเข้าสู่งานด้านสุขภาพจิตชุมชนฯ และการสอน ฝึกอบรม และเป็นที่ปรึกษาฯ สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความรู้สึกเป็นสุขจากการทำงานได้ร้อยละ 12.1 ในขณะที่การประกอบวิชาชีพด้านการสอน ฝึกอบรม และเป็นที่ปรึกษาฯ สามารถอธิบายความผันแปรของความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานด้านภาวะหมดพลังได้ร้อยละ 4

Article Details

How to Cite
แซ่ตั้ง ป. (2018). ความสัมพันธ์ของการประกอบวิชาชีพ ความรู้สึกเป็นสุขจากการทำงาน และความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานของนักจิตวิทยาคลินิกไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 138–146. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/148842
บท
บทความวิจัย

References

[1] Plante, T. G. 2011. Contemporary Clinical Psychology. (third edition). New Jersey: Wiley & Sons.
[2] Peterson, U., Demerouti, E., Bergstrom, G., Samuelsson, M., Asberg, M., Nygren, A. 2008. Burnout and Physical and mental health among Swedish healthcare workers. Journal of Advanced Nursing, 62(1), 84–95.
[3] Ahola, K., Honkonen, T., Isometsa E., Kalimo, R., Nykyri, E., Aromaa, A., Lonnqvist, J. 2005. The Relationship between job-related burnout and depressive disorders-results from the Finnish Health 2000 Study. Journal of Affective Disorders, 88(1),55–62.
[4] Stamm, B.H. 2010. The Concise ProQOL manual. Pocatello, ID: ProQOL.org.
[5] Abraham-Cook, S. 2012. The prevalence and correlates of compassion fatigue, compassion satisfaction, and burnout among teachers working in high-poverty urban public schools. Seton Hall University Dissertations and Theses (ETDs).Paper 1814.
[6] Morse, G., Salyers, M. P., Rollins, A. L., Monroe-DeVita, M. and Pfahler, C. 2012. Burnout in mental health services: A review of the problem and its remediation. Administration and Policy in Mental Health and Mental Health Services Research, 39(5), 341–352.
[7] Wayluriyapattanakul, S. & Sangmanee, W. 2016. Motivation factors effecting organizational commitment: a case study of Apollo (Thailand) co., ltd. Journal of Industrial Education, 15(3), 145-153.
[8] Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. 2010. Multivariate data analysis (seventh edition). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson education
[9] Jessawaranyu, K., Sungkapong, T. & Panriansaen, R. 2015. Happiness of registered nurses: a case study of faculty of medicine Vajira hospital, Navamindradhiraj university. Research and development journal Suan sunandha rajabhat university, 7(2) supplemental issue, 33-44.
[10] Phanphairoj, K. 2012. The factors affecting the happiness at work of faculty and staff in the faculty of nursing, Thammasat university. Thai science and technology journal. 20(5) supplement issue: 379-389.
[11] Leiter, M. P. & Harvie, P. L. 1996. Burnout among mental health workers: A review and a research agenda, International journal of social psychiatry, 42(2), 90-101
[12] Rodriguez, S.Y.S. & Carlotto, M. S. 2017. Predictors of Burnout Syndrome in psychologists. Estudos de psicologia (Campinas), 34(1), 141-150
[13] Manning-Jones, S. & Stephens, C. 2016. Secondary traumatic stress, vicarious posttraumatic growth, and coping among health professionals; A comparison study. New Zealand Journal of psychology, 45(1), 20-29
[14] Thompson, I. S., Amatea, E. S. & Thompson, E. S. 2014. Personal and contextual predictors of mental health counselors’ compassion fatigue and burnout. Journal of mental health counseling, 36(1), 58-77.
[15] Neville, K. & Cole, D.A. 2013. The relationships among health promotion behaviors, compassion fatigue, burnout, and compassion satisfaction in nurses practicing in a Community Medical Center. The journal of nursing administration, 43(6), 348-354.