การศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากเศษหนังแท้เหลือทิ้งเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปริมาณและลักษณะทางกายภาพของเศษหนังแท้เหลือทิ้ง 2. เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการใช้ประโยชน์เศษหนังแท้เหลือทิ้งจากสถานประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 3. เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษหนังแท้เหลือทิ้ง และ 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่แบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลทางด้านปริมาณและลักษณะทางกายภาพของเศษหนังแท้เหลือทิ้ง ภายในสถานประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจำนวน 3 แห่ง ด้วยเครื่องมือแบบสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured observation) ร่วมกับแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured Interview) ระยะที่ 2 วิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการใช้ประโยชน์เศษหนังแท้เหลือทิ้ง โดยทำการทดลองเชิงเทคนิคกับวัสดุ (Material Experimentation) ตามแนวทางการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) เพื่อพัฒนากระบวนการและประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาเทคนิคที่เหมาะสม ด้วยเครื่องมือแบบสอบถามความคิดเห็น (Questionnaire) ด้านการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ระยะที่ 3 ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษหนังแท้เหลือทิ้ง โดยนำเทคนิคที่ได้มาทำการออกแบบผลิตภัณฑ์และนำเสนอแบบนำเสนอ (Sketch Design) จำนวน 5 รูปแบบ ต่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยเครื่องมือแบบสอบถามความคิดเห็นหารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เพื่อนำไปสร้างต้นแบบ ระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่จำนวน 100 คน ด้วยแบบประเมินความพึงพอใจ เทียบกับเกณฑ์และจัดอันดับ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ผลการวิจัยพบว่า 1.) มีเศษหนังรูปแบบต่างๆ จำนวนเฉลี่ย 70-100 กิโลกรัม/เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็น หนังโค/หนังกระบือ ที่มีความแตกต่างกัน ไม่ได้มีการจัดการและใช้ประโยชน์โดยจะถูกนำไปทิ้งทั้งหมด สามารถแบ่งขั้นตอนการเกิดเศษหนังเป็น 3 ระยะ คือ 1 ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ 2 ขั้นตอนการผลิต และ 3 ขั้นตอนหลังการผลิต 2.) กระบวนการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) มีความเหมาะสมมากที่สุดจากการทดลองเชิงเทคนิคกับเศษวัสดุ และผู้เชี่ยวชาญด้านงานเครื่องหนังประเมินแนวทางการใช้ประโยชน์มีค่าความเหมาะสมมากที่สุด 3 เทคนิค คือ 1. เทคนิคการสานลายขัด 2. เทคนิคการเย็บด้วยจักร และ 3. เทคนิคการยึดให้แน่นด้วยอุปกรณ์ 3.) ผลิตภัณฑ์กระเป๋ามีค่าความเหมาะสมของรูปแบบผลิตภัณฑ์มากที่สุด โดยแบบร่างผลิตภัณฑ์รูปแบบที่ 2 เป็นกระเป๋าหูหิ้วและกระเป๋าสะพายข้าง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โทนสีน้ำตาล มีความเหมาะสมของรูปทรงในด้านวัสดุและวิธีการผลิต สอดคล้องกับสัดส่วนมนุษย์และมีความสวยงาม มีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.58) 4.) ผลิตภัณฑ์ชุดกระเป๋าจากเศษหนังแท้เหลือทิ้ง รูปแบบที่ 2 เทคนิค : การเย็บเศษหนังด้วยจักรมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (
= 4.51, S.D. = 0.55)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Sing Intrarachuto. 2556. Upcycling. Pathum Thani : National Science and Technology Development Agency.
[3] Textile Information Center Thailand Textile Institute. 2558. Establishment of Leather products In Bangkok and suburbs. Retrieved November 23, 2018, from http://www.thaitextile.org.
[4] Punnee Likitwatthana. 2559. Education Research. Bangkok : Faculty of Industry Education and Technology King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
[5] Waro Phengsawat. 2551. Research Methodology. Bangkok : Suwiriyasan.
[6] Watcharaporn Suriyaphiwat. 2560. Modern Business Research Methodology. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
[7] Division of the Industrial factory Director Industrial Waste Management and Treatment Technology. 2555. 3Rs Manual Waste management in factory. Ministry of industry.
[8] Watcharin Charungchitsunthon. 2548. I.D. Story Theory & Concept Design Bangkok : I Design Publishing.
[9] Meier Oliveira. 2016. Sustainable Design Applied to Animal Leather form the Footwear Industry. International Fashion and Design Congress, : p. 3629-3636.
[10] Barbara Cimatti. 2016. Eco Design and Sustainable Manufacturing in Fashion: A Case Study in the Luxury Personal Accessories Industry. Elsevier B.V. 2017, Procedia Manufacturing8 (October): p. 393 – 400.
[11] Chullasthira, C. 2017. The Development of Hand woven Silk Patterns for Machine Washing : A Case Study of Nong Bua Daeng Natural dye weaving group. Journal of Industrial Education. 16(1), 58-67.
[12] Chairat Pimbutr. 2559. Design and Development of Scrap Leather to Product Design Souvenirs. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, 5 (January - June 1) : p. 183-192.