สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง เรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง เรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง เรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์ กับกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาพลังงานที่ยั่งยืน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน จากนักศึกษาทั้งหมด 100 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 20 คน กับกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง เรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์ แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริงด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 60 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.35 -0.80 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.2 - 0.8 และค่าความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบ t-test แบบ independent samples. ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง เรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์ มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี(
= 4.33, S.D. = 0.36) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (
= 4.23, S.D. = 0.58) 2) ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง เรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์เท่ากับ 83.37/86.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ E1/E2 ไม่น้อยกว่า 80/80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Panida Tonsiri. 2010. Augmented Reality. Executive Journal, 30(2), p. 169-175.
[3] Nutthakon Songkram. 2011. Multimedia for learning design and development. 2ed. Bangkok : Chulalongkorn University.
[4] Raweewan Shinatrakul. 1995. Education Research. 2ed. Bangkok : Industrial Education, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.
[5] Chaiyong Brahmawong. 2013. Developmental Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), p. 5-20.
[6] Anderson, L. and Krathwolh, D. A. 2001. Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing : A Revision of Bloom’s Taxonomy of Education Objective. New York : Longman.
[7] Punnee Leekitchwatana. 2013. Research Methods in Education. 8th. Bangkok : Meem Service Supply.
[8] Nongkran Sisaart. 2013. A Creating of Learning Environment from Augmented Reality Technology Using Inquiry Process to Develop Science Process Skills on the Topic Solar System for Prathomsuksa 4 Students. Educational Communications and Technology, Industrial Education and Technology, King Mongkut's University of Technology Thonburi.
[9] Nuntawat Paha. 2017. Development of E-Learning Courseware on Internet Network on Development a Website of Graphic Information for Vocational Certificate Level 2. Journal of Industrial Education, 16(1), p. 34-41.
[10] Narongkorn Seejan. 2016. Tablet-Based Learning about Basic Semi-Conductor Devices. Journal of Industrial Education, 15(2), p. 138-144.