ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

เขมจิรา เฑี่ยงอยู่
สายัณห์ โสธะโร
ธีรศักดิ์ ฉลาดการณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ให้มีประสิทธิภาพที่ระดับ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในการเรียนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 24 คน นักเรียนเหล่านี้ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาสอน 26 คาบ คาบละ 50 นาที และประเมินผลการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชันของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจากคะแนนแบบทดสอบย่อย และคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน นอกจากนี้ผู้วิจัยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 70.25/70.66 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 2) นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สรุปได้ว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีความสามารถในการเรียนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชันด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 3) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
เฑี่ยงอยู่ เ., โสธะโร ส., & ฉลาดการณ์ ธ. (2018). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(2), 143–150. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/146195
บท
บทความวิจัย

References

[1] National Institute of Educational Testing Service. 2017. O-net Scores for the Academics year 2015 and 2016. Retrieved May 1, 2017, from https://www.newonetresult.niets.or.th

[2] The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. 2013. Teacher guide for addition Mathematics volume 2 Mathayomsuksa 4-6 Department of Mathematics The basis Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: Khurasapha Press.

[3] Pirompakdee Supannee. 1998. A Construction of the Mathematic Diagnostic Test in the Function for Mathayom Suksa IV. Master of Education Degree in Education Measurement, Graduate School, Srinakharinwirot University.

[4] Nuamnoom Pairot. 2011. An Instructional Design in Mathematical Function to Enhance Enduring Understanding of Grade 10 Students by Using Backward Design along with Authentic Learning. Doctor of Education Degree in Mathematics Education, Graduate School, Srinakharinwirot University.

[5] National Council of Teachers of Mathematics. 2000. Principles and Standards for School Mathematics. Reston: National Council of Teachers of Mathematics.

[6] Ngansakul Thanomkiat. 2001. Development of Mathematics Instructional Activities Using Graphic Calculator on the Topic of Parabola for Mathayomsuksa III Students of Muang Thalang School in Phuket Province. Master of Education (Curriculum and Instruction), Gradate School, Chiang Mai University.

[7] Unyo Orraya. 2010. Effects of Organizing Mathematics Learning Actives by Using Multple Reprsentations and Graphic Calculator on Mathematics Concept and Problem Solving Ability of Function. Degree of Master of Education in Mathematics Education, Graduate School, Chulalongkorn University.

[8] Kamol Natcha. 1999. Effects of Using Graphic Calculator on Mathematics Concept and Spatial Ability of Mathayomsuksa Three Students in the Demonstration Schools under the Ministry of University Affairs. Degree of Master of Education in Mathematics Education, Graduate School, Chulalongkorn University.

[9] Ekthaicharern Kamon. 2002. A Study of the Undergraduate Mathematics Students’ Achievement and Attitude on Learning Linear Algebra by Using Graphing Calculators. Srinakharinwirot Science Journal, 18(2), p. 52-61.

[10] Brahmawong Chaiyong. 2013. Developmental Testing of Media and Instructional. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), p. 7-19.

[11] Krannasoot Prakong. 2000. Statistics for Behavioral Science Research. 3rd. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

[12] Suwapanit Somsong. 2018. Theory of Instruction. Retrieved February 4, 2018, from https://www.gotoknow.org/posts/22883

[13] Garnkonsu Satien. 2008. Using Graphic Calculator for Developing Mathematical Learning Ability on Quadratic Function for Mathayom Suksa 4 Students at Sankamphaeng School. Master of Education (Mathematica Education), Gradate School, Chiang Mai University.

[14] Borasi, R. 1989. Algebraic Exploration of the Error. The Mathematics Teacher, 79(4), p. 246-248.

[15] Saneha Kewalin. 2013. Instructional Activities on Function by Using C.a.R. Program for Mathayomsuksa IV Students. Master of Education Degree in Mathematics, Graduate School, Srinakharinwirot University.

[16] Jenjit, P. C. 2002. Psychology in Teaching and Learning. 5th. Bangkok: Mathatip.

[17] Poonsawat Pirom. 2016. A Development Achievement in Fraction for Grade 5 Students by Using the Skill Practice. Journal of Industrial Education, 15(3), p. 67-47.