ความต้องการพัฒนาตนเองของครู สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

พงษ์พัฒน์ โพธิ์ประดุง
กาญจนา บุญภักดิ์
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของครูสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์การสอน และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 247 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test แบบ independent samples ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 มีความต้องการพัฒนาตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.83) และมีความต้องการพัฒนาตนเองในด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นลำดับแรก (gif.latex?\bar{x}= 3.96) 2) ครูที่มีเพศต่างกัน มีความต้องการพัฒนาตนเองในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูที่มีประสบการณ์การสอนแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองในภาพรวมไม่แตกต่าง

Article Details

How to Cite
โพธิ์ประดุง พ., บุญภักดิ์ ก., & ตั้งคุณานันต์ ป. (2015). ความต้องการพัฒนาตนเองของครู สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 408–415. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/145771
บท
บทความวิจัย

References

[1] บัญญัติ คำนูณวัฒน์. 2555. ทำไมต้องสร้างประชาคมอาเซียน. ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556, จากhttp://ewt.prd.go.th/ewt/region8/ewt_news.php?nid=335&

[2] ภัทรวิทย์ อยู่วัฒนะ. 2555. ทิศทางอาเซียนกับการศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556, จาก http://ewt.prd.go.th/ewt/region8/ewt_news.php?nid=336&filename=Asean_main

[3] ฤกษ์ชัย เพ็ชรคง. 2555. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtc.ac.th/www_km/02/0221/019_1-2555.pdf (วันที่ค้นข้อมูล: 12 ธันวาคม 2556).

[4] เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช. 2556. การพัฒนาอาชีวศึกษารองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2556, จาก http://www.thaigov.go.th/th/news-ministry/2012-08-15-09-39-20/item/76517-การพัฒนาอาชีวศึกษารองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.html

[5] ภาวิดา ศรีสุนทร สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และ สมโภชน์ อเนกสุข. 2556. การพัฒนาทักษะวิชาชีพตามความต้องการจำเป็นของครูช่างยนต์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(3), น.30-37.

[6] สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2555. การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน: ศักยภาพและความพร้อมเชิงระบบ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.addkutec3.com/wp-content/uploads/2013/05/การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่-211.pdf (วันที่ค้นข้อมูล: 15 ธันวาคม 2556).

[7] ศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุลกุล. 2555. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกระทรวงศึกษาธิการ ความร่วมมือด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://basd.mua.go.th/nbm/upload/documents/document-55-siwikar.pdf (วันที่ค้นหาข้อมูล: 15 ธันวาคม 2556).

[8] ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. 2555. ข้อมูลข้าราชการครู ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2539-2554. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://techno.vec.go.th/ประชาสัมพันธ์/รายละเอียดข่าว/tabid/766/ArticleId/240/-2539-2554.aspx (วันที่ค้นหาข้อมูล: 2 มีนาคม 2558).

[9] สราวุธ กิจวงศ์ภักดิ์. 2544. ความต้องการพัฒนาของครู-อาจารย์ แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิค. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[10] อำนาจ เจนจิตศิริ. 2546. ความต้องการพัฒนาตนเองของครูช่างยนต์ ในวิทยาลัยการอาชีพสังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[11] มณเฑียร นารถอุดม. 2550. การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนพร้านีลวัชระสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

[12] ณัฐชนก มานพ. 2551. ความต้องการพัฒนาตนเองของครูปฏิบัติการสอนสอนในกลุ่มโรงเรียนของสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[13] วริศรา จำปา. 2554. การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง, 14(3), น. 1.