ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสตรีอ่างทอง

Main Article Content

ปิยาภรณ์ แสงนาค
ไพฑูรย์ พิมดี
พรรณี ลีกิจวัฒนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสตรีอ่างทอง จำแนกตามระดับการศึกษา แผนการเรียน และรายได้ของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นนักเรียนโรงเรียนสตรีอ่างทอง จำนวน 346 คน  ปีการศึกษา 2557 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe’ ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)นักเรียนที่มีแผนการเรียน และระดับรายได้เฉลี่ยของครอบครัวแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนนักเรียนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน  พบว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
แสงนาค ป., พิมดี ไ., & ลีกิจวัฒนะ พ. (2015). ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสตรีอ่างทอง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 392–399. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/145762
บท
บทความวิจัย

References

[1] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2553. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.

[2] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2554. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ2554–2563 ของประเทศไทย .กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

[3] วุฒิ บุญกระจ่าง. 2550. ความพร้อมในการเรียนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มจังหวัดสนุก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[4] ศิริชัย ตันจอ.2555. รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง

[5] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2555. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[6] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2550. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS ครอบคลุมทุกเวอร์ชั่น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

[7] อรรถพล กิตติธนาชัย.2555. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สัมพันธ์ต่อสมรรถนะของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม). สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[8] ฐิติยา เนตรวงษ์.2557. การพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและจิตอาสาด้วยการเรียนแบบผสมผสานและโครงการรับใช้สังคมเป็นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), น. 59-65.

[9] ชาญ กลิ่นซ้อน. 2550.การศึกษาเจตคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยคริสเตียน. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

[10] พิฑูรย์ มูลศรี. 2547. สภาพความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อบริหารการจัดการงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[11] จารุวรรณ ดีล้อม .2553. ปัญหาการเรียนและความต้องการการเรียนการสอนเสริมบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับช่วง
ชั้นที่ 4 โรงเรียนเอกชนเครือเซนต์ปอลเดอชาร์ตร ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[12] อารีย์ มยังพงษ์.2552. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(9), น.26-33.

[13] ครรชิต มาลัยวงศ์ และคณะ. 2544. รายงานการสำรวจสถานภาพและความพร้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ.

[14] ณัฐวลัย คมขำและ ผุสดี บุญรอด. 2556. การวิเคราะห์แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชากรในประเทศไทยโดยใช้เหมืองข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์ค่านํ้าหนักองค์ประกอบ. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 10 (NCCIT2014), 10(1), น.535-540.