กระบวนการลดต้นทุนการปลูกพืชสวนของเกษตรกรโดยใช้แบบจำลองการลดต้นทุน แบบบูรณาการและเทคนิคโปรแกรมเชิงเส้น: กรณีศึกษา การปลูกลำไยและมะม่วง ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

วีรภัทร พุกกะมาน
อนิรุทธ์ ขันธสะอาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีลดต้นทุนการเพาะปลูกพืชสวนของเกษตรกร ในจังหวัดสระแก้ว โดยใช้แนวคิดแบบจำลองการลดต้นทุนแบบบูรณาการ (Integrated Agricultural Cost Reduction Model) สำหรับการบริหารต้นทุนค่าปุ๋ย เคมีเกษตร และการคำนวณต้นทุนค่าแรงงานที่เกิดขึ้นโดยใช้เทคนิคโปรแกรมเชิงเส้น (ILP Optimization Model) ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรพืชสวนจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ในจังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้ จากการประยุกต์ใช้แบบจำลองการลดต้นทุนแบบบูรณาการ (Integrated Agricultural Cost Reduction Model) จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ย และสารเคมีเกษตร รวมถึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปซื้อปุ๋ย และสารเคมีเกษตร  คิดเป็นต้นทุนที่ลดลงร้อยละ 4.28 หรือ คิดเป็นเงิน 9,580 บาท ต่อหนึ่งรอบการเพาะปลูก ในส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงสามารถลดต้นทุนค่าซื้อปุ๋ย และสารเคมีเกษตร รวมถึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คิดเป็นต้นทุนที่ลดลงร้อยละ 5.79 หรือ คิดเป็นเงิน 13,159 บาท ต่อหนึ่งรอบการเพาะปลูกในขนาดพื้นที่ที่เท่ากัน ในส่วนของต้นทุนค่าแรงที่มีการนำเทคนิคโปรแกรมเชิงเส้น (ILP Optimization Model) มาช่วยในการคำนวณ


ซึ่งผู้วิจัยพบว่า สามารถลดต้นทุนค่าแรงในการปลูกมะม่วงร้อยละ 21 และลำไยลดลงร้อยละ 30 หรือ คิดเป็นเงินที่ลดลงประมาณ 11,750-12,250 บาทต่อหนึ่งรอบของการปลูก ดังนั้นการนำแนวคิดแบบจำลองการลดต้นทุนแบบบูรณาการ และเทคนิคโปรแกรมเชิงเส้น จะช่วยลดต้นทุนรวมของการเพาะปลูกพืชสวนเกษตรหนึ่งรอบลงประมาณร้อยละ 27-34 จากต้นทุนเดิม

Article Details

How to Cite
พุกกะมาน ว., & ขันธสะอาด อ. (2018). กระบวนการลดต้นทุนการปลูกพืชสวนของเกษตรกรโดยใช้แบบจำลองการลดต้นทุน แบบบูรณาการและเทคนิคโปรแกรมเชิงเส้น: กรณีศึกษา การปลูกลำไยและมะม่วง ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(2), 13–22. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/144238
บท
บทความวิจัย

References

[1] Earl K. Stice & James D. Stice.2008. Intermediate Accounting, Cengage Learning ,Canada

[2] Sakaeo Provincial Commercial.Economic Plantation.[online]. Retrived on 30 July 2017 from
https://www.dit.go.th/region/SA%20KAEO/Content?id=1712

[3] Office of the National Economic and Social Development Board.Thailand's Logistics
Development Strategy (2013-2017). [online]. Retrived on 30 July 2017 from https://www.nesdb.go.th/article_attach/10-5.pdf

[4] Anchana N. 2016. Toward a Less Chemically-Dependent Agriculture: A Study on Some Farmer Groups in the Chanthaburi and Pathum Thani Provinces. Journal of Public and Private Management, 23(2), p.93-118.

[5] Silwal HP. 2015. Sustainable Integrated Agriculture and Rural Development Policy. Advances in Crop Science and Technology, 3, p.185.

[6] Watiwut N. & Krailert T. 2015. Cost Reduction of Rice By Production Using Organic Fertilizer in Noonrang Village, Savatee District, Khon Kaen. The National and International Conference on Business Management and Innovation 2015, Khon Kaen University ,p.970-976

[7] Watcharin S, Orawan R, Sujitra S, ... & Papawee S. 2015. The participatory learning process of leaung rice 11 production without toxic substance case study: khoklam village kamalasai district kalasin provice. RMUTP Research Journal Special Issue, The 5th Rajamangala University of Technology National Conference

[8] Jongongolbodin S, Pawin M,..&Tidarat C. 2011. Logistics Cost of Langan an activity-based perspective. Research report, Maejo University.

[9] Jirawan L,Panya M & Thamromg M. 2012. Factors Influencing Farmer’s Decision Making in Good Agricultural Practice (GAP) of Mango Production Project in Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province. King Mongkut’s Agricultural Journal, 30 (3), p.13-21

[10] Danzig, George B. 1998. Linear Programming and Extensions. 11th ed.
Princeton University Press: Princeton, New Jersey

[11] McCarl, B. A. 1982. Cropping activities in agricultural sector models: a methodological proposal. American Journal of Agricultural Economics, 64(4), p.768-772.

[12] Yingsak K. (2017, September 4). President of Longan’s Plantation group in Klonghad. [Interview].

[13] Poonsil. (2017, August 15). Mango’s Plantation Farmer in Nongpum.[Interview]

[14] Prateep V.[online]. Foundation for Ecological and Community Empowerment. Retrived on 20 October 2017 from https://www.banrainarao.com/home

[15] Pareeyawadee P & Tanattrin B. 2016. Cost of Quality and Core Competency on the Preparation of Wangnamyen Dairy Co-Operative Entering to Sakaeo Special Economic Zone. Journal of Industrial Education, 15(2) , p.131-137

[16] Paitool S, Taddao P & Jiraporn N. 2016. Analysis of Reducing Rice Production Cost Guideline in Prachinburi Province. RMUTTO Social Science Journal, 5(2) , p.44-54

[17] Somkuan L. (2017, August 15). President of Mango’s Plantation group in Nongpum. [Interview]