การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง ความน่าจะเป็น

Main Article Content

ปฏิญญา ศรีพงษ์พิจิตร
สุกัญญา หะยีสาและ
กาญจนา พานิชการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพือ 1) ศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง ความน่าจะเป็น และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนกับนักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) นักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน จำนวน 40 คน และ (2) นักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 40 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง ความน่าจะเป็น จำนวน 11 แผน และ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบ Z (Z-test for Population Proportion) และสถิติทดสอบ t (t-test for Independent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง ความน่าจะเป็น จำนวนมากกว่าร้อยละ 60 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม ที่ระดับนัยสำคัญ .05 (2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน สูงกว่านักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ที่ระดับนัยสำคัญ .01

Article Details

How to Cite
ศรีพงษ์พิจิตร ป., หะยีสาและ ส., & พานิชการ ก. (2018). การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง ความน่าจะเป็น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(1), 78–86. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/139930
บท
บทความวิจัย

References

[1] Partnership for 21st Century Skills. 2008. 21st Century Skills, Education & Competitiveness: A RESOURCE AND POLICY GUIDE. Tucson: n.p. Retrieved July 7, 2017, from https://www.p21.org/storage/documents/21st_century_skills_education_and_competitiveness_guide.pdf

[2] Office of the Basic Education Commission. 2010. National Education Act B.E. 2542 for additional corrective No. 2 B.E. 2545 and No. 3 B.E. 2553. Photocopied.

[3] Chatkhup Sansanee. and Chuchart Ausa. 2001. Fuk samong hai khit yang mi wicharanayan. Bangkok: Wathanapanich.

[4] Ennis. 2015. Critical Thinking: A Streamlined Conception. In Davies, M.; & Barnett, R. The Palgrava Handbook of Critical Thinking in Higher Education. 31-47.New York: Palgrave Macmillan.

[5] Makanong Aumporn. 2016. Thaksa lae krabuankan thang khanittasat: kanphatthana phua phatthanakan. 3rd ed. Bangkok: Chulalongkorn University.

[6] Susoarat Prapansiri. 2013. Kanphatthana kan knit. 5th ed. Bangkok: Technicprinting.

[7] Aizikovitsh, E. ;& Amit M. 2008. Developing Critical Thinking in Probability Session. International Group for the Psychology of Mathematics Education, 2: 9-16.

[8] Shakirova, D.M. 2007. Technology for the Shaping of College Students’ and Upper-Grade Students’ Critical Thinking. Russian Education and Society, 49(9): 42-52.

[9] Munkham Suwith., et al. 2011. Kanchat kitchakam kan rianru thi nen kan khit. Bangkok: EK Books.

[10] Anurutwong Usanee. 2011. Nakwichakan chi dek Thai wikrit thang khwamkhit het chak rebop kansuksa. Manager Online. [Online]. Available: https://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000024701.

[11] Peter, E. Ebiendele. 2012. Critical thinking: Essence for teaching mathematics and mathematics problem solving skills. African Jorunal of Mathematics and Computer Science Research, 5(3): 39-43.

[12] Siritho Siripak. 2015. Kan khit wicharanayan: mumming kansuksa lae kanborihan chatkan. In Sinlarat, P. Sat kan khit. 71-90. Bangkok: Dhurakij Pundit University.

[13] Sintapanon Sukon. Wanlerdluk Worarat. and Sintapanon Pannee. 2012. Phatthana thaksa kan khit…tam naeo patirup kansuksa. Bangkok: Technicprinting.

[14] Sararattana Wirot. 2013. Krabuan that mai thangkan suksa korani thatsana to kansuksa satawat thi yisipet. Bangkok: Thipayawisut.

[15] Anurutwong Usanee. 2012. High Level of Thinking Skills: How to Develop. Bangkok: Inthanon.

[16] Pechsung Peechanika. 2012. Effects of Organizing Mathematics Learning Activities Using 5E Instructional Model and Open-ended Questions on Mathematical Reasoning Ability and Critical Thinking Ability of Eighth Grade Students. Thesis M.D. (Curriculum and Instruction), Education, Chulalongkorn University.

[17] Khammanee Tidsana. 2012. Sat kanson: ongkhwamru phua kanchat krabuankan rianru thi mi prasitthiphap. 3rd ed. Bangkok: Chulalongkorn University.

[18] Sintapanon Sukon. 2015. Kanchatkan rianru khong khru yuk mai…phua phatthana thaksa khong phu rian nai satawat thi yisip et. Bangkok: Technicprinting.

[19] Promjittipong Orapan. 2013. A Cognitive Analysis of Mathayomsuksa 3 Students’ Mathematical Errors and Misconceptions about Probability. Thesis M.D. (Mathematics Education), Graduate School, Khon Kaen University.

[20] Mulkhum Suwit., et al. 2011. Kanchat kitchakam kan rianru thin en kan khit. Bangkok: E.K. Books.

[21] O’Daffer, Phares G.; & Thornquis, Bruce A. 1993. Critical Thinking, Mathematical Reasoning, and Proof. In Patricia S. Research Ideas for the Classroom High School Mathematics. 39-50. New York: Macmillan.

[22] Aizikovitsh, E.; & Amit M. 2011. Developing the skills of critical and creative thinking by probability teaching. Procedia Siocial and Behavioral Sciences, 15: 1087-1091.

[23] Aizikovitsh, E.; & Cheng D. 2015. Developing Critical Thinking Skills from Dispositions to Abilities: Mathematics Education from Early Childhood to High School. Creative Education, 6: 455-462.

[24] Pittayanan Jatunarapit; Thiyaporn Kantathanawat; and Pariyaporn Tungkunanan. 2016. The Inquiry Learning Model to Develop The Achievement on Conceptual Model of Upper Secondary Princess Chulabhorn’s College Chonburi. Journal of Industrial Education,
15(1): 219-225.