การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

Main Article Content

ศราวุฒิ นิลสุก
เลิศลักษณ์ กลิ่นหอม
ไพฑูรย์ พิมดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก จำแนกตามเพศและชั้นปี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 285 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ  ด้านความบันเทิง ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และด้านการประชาสัมพันธ์ มีค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test Independent sample) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษาที่เพศต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิชาการ ด้านความบันเทิง ด้านการประชาสัมพันธ์ และ ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) นักศึกษาที่เรียนชั้นปีต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
นิลสุก ศ., กลิ่นหอม เ., & พิมดี ไ. (2015). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 299–304. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/136964
บท
บทความวิจัย

References

[1] ชาญ กลิ่นซ้อน. 2550. การศึกษาเจตคติและ พฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ด้วย ตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยคริสเตียน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์ เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[2] สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ. 2555. เทคโนโลยีสารสนเทศ. ค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557, จาก https://dusithost.dusit.ac.th/~prisana_mut/ppt/it/ppt111/IT_Total2.pdf

[3] สมชัย ทองดอนน้อย. 2556. พฤติกรรมการ และผลกระทบใช้สื่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[4] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2552. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[5] ชณุตพร เจ้ยชุม และกานดา จันทร์แย้ม. 2556. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและปัจจัย ที่ส่งผลต่อการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

[6] ประวิทย์ เครือทรัพย์. 2554. พฤติกรรมการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[7] มะลิสา ไชยวิเศษ. 2553. เจตคติและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันอาชีวศึกษา จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์)คณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] ปิยะณัฐ หน่วงเหนี่ยว อรรถพร ฤทธิเกิด และเลิศลักษณ์ กลิ่นหอม. 2556. พฤติกรรมการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ของนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น.165-171

[9] สุวิมล ปฏิมินต์. 2554. พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.