การเปรียบเทียบการสร้างแบบรูปด้านสถาปัตยกรรมไทยเจดีย์ ระหว่างวิธีรังวัดเจดีย์แบบดั้งเดิมกับวิธีระบบแปลงภาพถ่าย

Main Article Content

พิทาน ทองศาโรจน์
มนัญชยา เรืองวงศ์โรจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการสร้างแบบรูปด้านสถาปัตยกรรมไทยเจดีย์ จากสถานที่จริงด้วยวิธีรังวัดเจดีย์แบบดั้งเดิม กับวิธีระบบแปลงภาพถ่าย โดยพิจารณาปัจจัยเรื่องจำนวนเวลาในการทำงาน และปัจจัยเรื่องระยะต่าง ๆ ของเจดีย์ที่มีค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้เป็นเกณฑ์พิจารณา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเจดีย์ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 20 องค์ จากวัด 12 แห่ง สำหรับวิธีการวิจัยเพื่อพิจารณาปัจจัยแรกได้แก่ เวลาที่ใช้ทำงานการวัดระยะต่าง ๆ ว่าวิธีใดใช้เวลามากกว่ากัน และด้วยสาเหตุใด โดยมีหน่วยวัดเป็น ชั่วโมงและนาที สำหรับวิธีการวิจัยในปัจจัยที่สองเป็นการพิจารณาค่าระยะที่เกิดจากการวิธีระบบแปลงภาพถ่ายว่ามีความคลาดเคลื่อนมากหรือน้อยกว่าวิธีรังวัดเจดีย์แบบดั้งเดิมหรือไม่ โดยมีหน่วยวัดเป็นเปอร์เซ็นต์


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเวลาในการทำงานของทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ในวิธีรังวัดเจดีย์แบบดั้งเดิมพบว่าตัวอย่างเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ใช้เวลาในการทำงานเก็บระยะมากกว่าเจดีย์ที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งต่างจากวิธีระบบแปลงภาพถ่ายพบผลที่ไม่แตกต่างกันภายใต้เงื่อนไขของขนาด แต่พบเรื่องของรายละเอียดที่อยู่ตัวบนเจดีย์ เช่น ลายปูนปั้น ลายแกะสลัก ที่ส่งผลให้เวลาที่ใช้เก็บข้อมูลมากกว่า สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของระยะที่ยอมรับได้พบว่า วิธีระบบแปลงภาพถ่ายสามารถสร้างระยะของเจดีย์ตัวอย่างได้ถูกต้องใกล้เคียงกับระยะจริงถึง 14 องค์ และ 6 องค์อยู่ในเงื่อนไขความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้

Article Details

How to Cite
ทองศาโรจน์ พ., & เรืองวงศ์โรจน์ ม. (2018). การเปรียบเทียบการสร้างแบบรูปด้านสถาปัตยกรรมไทยเจดีย์ ระหว่างวิธีรังวัดเจดีย์แบบดั้งเดิมกับวิธีระบบแปลงภาพถ่าย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 40–46. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/135118
บท
บทความวิจัย

References

[1] Suriya sudsawat and Decha sudsaswat. 2010. Registration of archaeological site in Samutsakhon Province: Office of archeology, Director the 1st Regional Office of Fine arts, Ratchaburi. Ratchaburi Province: Director the 1st Regional Office of Fine arts.

[2] VEERANIJ TORATARANON. 2008. THEKNIK KĀN THĀI PHĀP THIUTHAT. BANGKOK : MIS.

[3] BURIN TRICHINTANACHOT. 2004. KHŪMƯ̄ MĀTTRATHĀN ISO/IEC 17025 : 1999. BANGKOK : JQA MCGROW.

[4] BRITISH STANDARDS INSTITUTION. 2003. MEASUREMENT MANAGEMENT SYSTEMS-REQUIREMENTS FOR MEASUREMENT PROCESSES AND MEASURING EQUIPMENT. (N.P.) : BRITISH STANDARDS.

[5] THONGSAROJANA P. 2017. THE DEVELOPMENT OF SKILLS IN ARCHITECTURAL DESIGN BY COMPUTER WITH REINFORCEMENT LEARNING FROM PROJECT - BASE OF AUTHENTIC LEARNING. JOURNAL OF INDUSTRIAL EDUCATION, 16(3), P. 16-24.

[6] SANTHI LEKSUKHUM. 2009. ČHĒDĪ : KHWĀMPENMĀ LÆ KHAM SAP RĪAK ʻONGPRAKŌ̜P ČHĒDĪ NAI PRATHĒT THAI. BANGKOK : MATHICHON.

[7] Caponigro, John Paul. 2003. Adobe Photoshop Master Class. 2nd Edition. (N.P.) : Adobe Press.

[8] Pithan Thongsarojana. 2017. kān khīan bǣp sathāpattayakam dūai khō̜mphiutœ̄. Bangkok : Chula Press.