การเปรียบเทียบการย้อมและการทอผ้าของอีสานและโอกินาว่า

Main Article Content

วาริน บุญญาพุทธิพงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ได้ทำการเปรียบเทียบการย้อมและการทอผ้าของภาคอีสานประเทศไทยและโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น ทำการ ศึกษาโดยลงพื้นที่ภาคสนามดูงานแหล่งทอผ้าและย้อมผ้าที่สำคัญในเกาะโอกินาว่าและเกาะคุเมะ สัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติแล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับของอีสาน แม้ทั้งสองแห่งจะมีหัตถกรรมสิ่งทอและวัฒนธรรมที่โดดเด่นของตนแต่คงมีความเหมือนกันบาง อย่างในการย้อมและทอผ้าจากการแพร่กระจายของวัฒนธรรมผ่านการค้าขายในอดีตที่เชื่อมโยงไปทั่วทวีปเอเชียและถูกพัฒนาต่อในพื้นที่ของตนเองตามลักษณะสภาพท้องถิ่นนั้น ๆ ผลที่ได้จากการเปรียบเทียบกัน 2 หัวข้อมีดังนี้ 1. การย้อม มีการใช้สีย้อมจากวัสดุธรรมชาติคือพืชและสัตว์ทั้งสองแห่ง แต่มีชนิดวัตถุดิบที่ต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น โดยโอกินาว่ามีการใช้แร่ธาตุในการย้อมมากจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะและมีเทคนิคดั้งเดิมในการย้อมผ้าผืนได้แก่ Bingata คือการย้อมแบบกันสีด้วยแป้งเปียกจากข้าวโดยใช้แป้งเปียกข้าวปาดบนแผ่นกระดาษฉลุลายหรือเขียนลายเพื่อกันสี 2. การทอ มีการใช้วัสดุไหมและฝ้ายเช่นเดียวกันแต่ไหมคนละสายพันธุ์ นอกจากนี้โอกินาว่ามีการใช้ป่านและใยกล้วยด้วย ส่วนเทคนิคการทอมีความคล้ายคลึงกันได้แก่การมัดหมี่คือการสร้างลวดลายจากการมัดย้อมเส้นใยก่อนทอ และการทอลายที่คล้ายการทอด้ายลอยคือการสร้างลายทอที่เกิดจากการยกเส้น ด้ายบางส่วนลอยข้ามกัน แต่มีรายละเอียดของกระบวนการทำและลวดลายต่างกัน ประโยชน์ที่ได้จากการเปรียบเทียบสามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาการย้อมและทอผ้ารวมถึงสร้างสรรค์แนวคิดการออกแบบใหม่ๆ จากการประยุกต์เทคนิคบางอย่างได้

Article Details

How to Cite
บุญญาพุทธิพงศ์ ว. (2017). การเปรียบเทียบการย้อมและการทอผ้าของอีสานและโอกินาว่า. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(3), 209–217. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/129261
บท
บทความวิชาการ

References

[1] Naenna, P.C. and Phanichphant, V. 1992. Tai Lineage in Textile Art. In Prangwatthanakun, S. (Eds.). Textile of Asia: A Common Heritage. p. 29-44. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

[2] The Queen Sirikit Department of Sericulture. (n.d.). Silk Ikat Textile. Retrieved August 5, 2016, from https://www.qsds.go.th/monmai/cloth_history.php?cloth_id=3

[3] The Queen Sirikit Department of Sericulture. (n.d.). Identity of Thai Textile in Regions. Retrieved August 5, 2016, from https://www.qsds.go.th/silkcotton/knowledge.php

[4] Institute for Small and Medium Enterprises Development. 2012. Thai Identity: Idea Capital, Creative Capital. Pathum Thani: Institute for Small and Medium Enterprises Development.

[5] The Queen Sirikit Department of Sericulture. 2014. Standard of Sericulture. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand.

[6] Brandon, R. M. & Stephen, B. B. 1990. Textile Art of Okinawa. The United States of America: Edward Enterprises, Inc.

[7] Sano, K., Ishiguro, T. & Maito, M. (Eds). 2004. Textile Across the Seas: Okinawa Island, Kume Island. Japan: Art Press Co., Ltd.

[8] Kamida, N. (2016, July 11). Chibaha Hana-Ori Association. [Interview].

[9] Okinawatime, 2009. Ryukyu (Okinawan) Traditional Crafts Dyeing and Weaving. etrieved August 1, 2016, from https://Okinawatime.com

[10] Matsumoto, T. (2016, July 13). Chief Director. Kumejima Tsumugi Cooperative Association. [Interview].

[11] Miyara, M. (2016, July 12). Curator. Kumejima Museum. [Interview].

[12] Wannamas, S. 1991. Thai Textile: Isan Pattern. Bangkok: Aksorn Sampan.

[13] Hongthongdang, V. 2005. Natural Dyes from Plants. Bangkok: P.Press.

[14] Chanawangsa, T. and Samannachart, S. 2014. A study on the potential development and evolution of handicrafts made from jute within a community in Northeast Thailand. Journal of Industrial Education, 13(1), p. 63-70.