การประยุกต์ใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพและกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพในการขนส่งชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) และกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) เพื่อปรับปรุงคุณภาพในการขนส่งชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาคุณลักษณะที่เหมาะสมของ การปรับปรุงคุณภาพดังกล่าว ดำเนินการศึกษาโดยนำความคิดเห็นและความต้องการของตัวแทนลูกค้าที่ซื้อชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การเกษตร จำนวน 35 ราย มาเป็นคุณลักษณะของการขนส่งเพื่อมาทำการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพสำหรับการออกแบบเชิง วิศวกรรม จากการแปลงค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความสำคัญของความต้องการ (IMP) เป็นความต้องการทางเทคนิค จากนั้น หาค่า น้ำหนักความสำคัญของข้อกำหนดทางเทคนิคสมบูรณ์ (ATRI) ค่าน้ำหนักความสำคัญโดยเปรียบเทียบ (RTRI) และทำการคัดกรอง เพื่อให้ได้ข้อกำหนดคุณลักษณะของการปรับปรุงคุณภาพในการขนส่งชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มา เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการขนส่งให้กับโรงงาน เพื่อรองรับและตรงตามความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญของปัจจัยในการพัฒนาการปรับปรุงคุณภาพในการขนส่งชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร ได้แก่ การปรับลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน การปรับปรุงระบบการจัดการการขนส่ง การปรับปรุงยานพาหนะและอุปกรณ์ในการขนส่งให้ ความปลอดภัย การอบรมพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ และการแนะนำข้อมูลการให้บริการ ตามลำดับ จากนั้น นำไปสู่การพัฒนาการให้บริการและนำไปทดสอบการยอมรับการให้บริการ โดยพบว่า ได้คะแนนความพึงพอใจโดยรวมในระดับ มาก ผลที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้จะนำไปปรับปรุงคุณภาพในการขนส่งชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร ตลอดจนเป็นแนวทางใน การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันได้
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Roengtham, K., Atthirawong, W., & Rojniruttikul, N. 2013. Delivery efficiency of just-in-time production system for automotive part suppliers cast study: Siam Hi-Tech Center co., ltd. Journal of Industrial Education, 12(3), p.124-132.
[3] Ho, W., He, T., Lee, C. K. M., & Emrouznejad, A. 2012. Strategic logistics outsourcing: an integrated QFD and fuzzy AHP approach. Expert Systems with Applications, 39(12), p.10841–10850.
[4] Chowdhury, M. M. H., & Quaddus, M. A. 2015. A multiple objective optimization based QFD approach for efficient resilient strategies to mitigate supply chain vulnerabilities: The case of garment industry of Bangladesh. Omega, 57, p.5-21.
[5] Liao, C. N., & Kao, H. P. 2014. An evaluation approach to logistics service using fuzzy theory, quality function development and goal programming. Computers & Industrial Engineering, 68, p.54-64.
[6] Hsu, C. H., Chang, A. Y., & Luo, W. 2017. Identifying key performance factors for sustainability development of SMEs–integrating QFD and fuzzy MADM methods. Journal of Cleaner Production, 161, p.629-645.
[7] Pakizehkar, H., Sadrabadi, M. M., Mehrjardi, R. Z., & Eshaghieh, A. E. 2016. The Application of Integration of Kano's Model, AHP Technique and QFD Matrix in Prioritizing the Bank's Substructions. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 230, p.159-166.
[8] de Fátima Cardoso, J., Casarotto Filho, N., & Miguel, P. A. C. 2015. Application of Quality Function Deployment for the development of an organic product. Food Quality and Preference, 40, p.180-190.
[9] Moldovan, L. 2014. QFD employment for a new product design in a mineral water company. Procedia Technology, 12, p.462-468.