การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์จากการผสมผสานลวดลายงานศิลปกรรม ทางพระพุทธศาสนาไทยกับทิเบต

Main Article Content

เหอ เจา
ภานุ สรวยสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของลายกระหนกและลายเมี่ยวเหลียนเพื่อค้นหาความหมายของรูปแบบและเอกลักษณ์ภายนอกที่มีร่วมกันและใช้เป็นแนวทางในการออกแบบลวดลายใหม่ตามสไตล์การออกแบบของผู้วิจัยที่เกิดจากการผสมผสานเอกลักษณ์ข้ามวัฒนธรรมไทยจีนตามมิติของศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาและนำลวดลายดังกล่าวไปประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์


ผลการศึกษาพบว่า ลายกระหนกและลายเมี่ยวเหลียนเป็นลวดลายทางพระพุทธศาสนาที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับพลัง อำนาจ และความสำเร็จ ตลอดจนถือเป็นลวดลายประดับที่สวยงาม เมื่อดำเนินการวิเคราะห์เอกลักษณ์ภายนอก พบว่า ลายกระหนกมีลักษณะปรากฏเป็นภาพคล้ายกับการเจริญเติบโตของต้นไม้และลายเมี่ยวเหลียนคือภาพสมบูรณ์ของดอกบัว ดังนั้น ลวดลายทั้งสองนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของธรรมชาติที่มักนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการตกแต่งศิลปะทางพระพุทธศาสนา เมื่อผู้วิจัยค้นพบความหมายของรูปแบบและเอกลักษณ์ภายนอกที่มีร่วมกันแล้วได้ดำเนินการออกแบบแบบร่างไว้ทั้งสิ้น 7 แบบร่างและเมื่อนำแบบร่างทั้งหมดไปสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบทั้งในประเทศไทยและจีน พบว่า ลวดลายทั้งหมดสามารถสื่อความหมายและเป็นตัวแทนของลวดลายที่มีเอกลักษณ์จากการผสมผสานข้ามวัฒนธรรม ทั้งนี้ เมื่อผู้วิจัยนำแบบร่างลวดลายไปดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า ลวดลายที่ออกแบบใหม่ตามสไตล์ของผู้วิจัยนี้ ไม่เพียงแต่สามารถใช้กับการแกะสลักเครื่องหนังได้เท่านั้น ยังสามารถประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น เสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์ ของตกแต่งบ้าน หน้าเว็บไซต์และของใช้ในชีวิตประจำวันได้ อันจะส่งผลให้เกิดการบริโภคงานศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนามากขึ้นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่ผู้สนใจนำไปประกอบเป็นอาชีพ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ สืบสานและสืบทอดมรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอันดีงามของสองชาตินี้ให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป

Article Details

How to Cite
เจา เ., & สรวยสุวรรณ ภ. (2017). การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์จากการผสมผสานลวดลายงานศิลปกรรม ทางพระพุทธศาสนาไทยกับทิเบต. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(3), 143–151. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/129119
บท
บทความวิจัย

References

[1] Sittichok Noisainimnuan. 2016. Lai Kanok. Retrieved September 28, 2016, from https://www.gotoknow.org/posts/338616

[2] Kieatikun and Santi Leksukhum. 2016. Thai pattern-Lai Kanok. Retrieved October 3, 2016, from https://kanchanapisek.or.th/kp6/Ebook/BOOK38/pdf/book38_1.pdf

[3] Orapin Supawong. 2016. Lai Thai. Retrieved October 3, 2016, from https://nwkart.blogspot.com/2008/10/blog-post_2177.html

[4] He Lei. 2012. The Study of Culture on the Thai’s Patterns. Master of Arts (Asian-African Language), Yunnan Minzu University.

[5] Puhua Cairang. 2007. Symbols and sacred symbol meanings of Tibet. Master of Ethnology (Ethnology), Minzu University of China.

[6] Yi Xi. 2010. Semantic analysis “The eight auspicious symbols” of Tibetans. Journal of Sichuan University for Nationalities, Vol.19.(4), p.19.

[7] Pang Hui. 2009. Interpretation of Tibetan Buddhist art the eight auspicious symbols. Master of Arts (Industrial design), Hunan University of Technology.

[8] Jin Yingying. 2011. Buddhism the Secularization of Flower Designs the Rheological. Master of Arts (Art and design), Dalian University of Technology.

[9] Liu Haiyan. 2011. Carving and percussion pattern: case study of carving leather. Master of Arts (Literature and Art), Xi'an Academy of Fine Arts.

[10] Passana Ekudompong and Sirirak Khanthanurak. 2016. A study of behaviors and factors affecting the selection of interactive newspaper. Journal of Industrial Education, 15(3), p.13.