การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรรายวิชาพฤกษศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้สวนมะม่วงบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรรายวิชาพฤกษศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้สวนมะม่วงบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมหลักสูตรให้แก่นักศึกษา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับกิจกรรมเสริมหลักสูตรรายวิชาพฤกษศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้สวนมะม่วงบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมเสริมหลักสูตรรายวิชาพฤกษศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้สวนมะม่วงบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องมะม่วง จำนวน 7 กิจกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และแบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 พลวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมเสริมหลักสูตร รายวิชาพฤกษศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้สวนมะม่วงบางคล้า จำนวน 7 กิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมมีระดับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับ 5 ทุกกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมเท่ากับ 4.55 ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.35 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Rata, B. 2008. Using learning resources for Instruction of Dokngern Municipal School, Chiang Mai Province. The Master of Education, Education Administration, Chiang Mai University.
[3] Phuboonterm, R. 2010. The Outcome of Learning and Attitude towards Science Taught Students’ Learning by Outdoor Activities in Science Subject. An Independent Study Report for the Master of Education in Science Education, Faculty of Educational, Khon Kaen University.
[4] Jantafun, N. 2010. Using learning resources for instructional provision of Thungkwaw witayakom school, Lampang Province. Master in Education, Education Administration, Chiang Mai University.
[5] Chachoengsao Agricultural Extension Office. 2015. Basic Information for Agricultural 2016 . Chachoengsao Agricultural Extension Office. Department of Agricultural Extension Office.
[6] Anupatsakul, A. 2007. The Development of Mathematical Learning Activities Pratom - suksa 4 Student Entitle Measurement using Community Learning Resources. Master of Education Program in Curriculum and Instruction. Thapsatri Rajabhat University.
[7] Sumara Kongpiromchuen. 2015. Factor Affecting on Learning Achievement Motivation of Vocational Students in Chachoengsao Technical Colleage. Journal of Industrial Education, 14(1). p. 275-282.
[8] Bhiromrat, K. 2008. Factors effected to the Learning outcome according to Basic Education Curriculum B.E. 2551 of Mattayom - suksa 1 and 4, Demonstration School Suansunandha Rajaphat University. Research’s Title, Suansunandha Rajaphat University.
[9] Rata, B. 2008. Using learning resources for Instruction of Dokngern Municipal School, Chiang Mai Province. The Master of Education, Education Administration, Chiang Mai University.
[10] Ministry of Education. 2008. Basic Education Curriculum B.E. 2551. The Agricultral Co-operative Federation of Thailand.
[11] Visessombat, S. 2002. Satisfaction of Students in Management Faculty Towards The Service of Rajabhat Institute Phetchaburi. Master of Education Degree in Business Education at Srinakharinwirot University.