การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพความรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา แรงบันดาลใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างก่อนและหลังอบรมและพัฒนานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมให้สามารถเป็นวิทยากรที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดแก่นักเรียนและผู้อื่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยใช้ การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมแบบพาอิก ที่บูรณาการด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพการอภิปรายกลุ่มย่อย การประเมิน 3 ด้าน และการประเมิน 4 ด้าน เพื่อประเมินการแสดงบทบาทสมมุติการเป็นวิทยากร เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบประเมิน 3 ด้าน และการประเมิน 4 ด้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จำนวน 40 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดคือการมีจิตสาธารณะและให้คำมั่นว่าจะมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Paired Sample t-test เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการอบรม และ One WayANOVA เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน 3 ด้านและผลการประเมิน 4 ด้าน
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษาแรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์แวดล้อมและพฤติกรรมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์การอบรม หลังการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.01, 0.01, 0.01, และ0.01 ตามลำดับ รวมทั้งได้นักเรียนที่สามารถเป็นวิทยากรที่จะถ่ายทอดความรู้เรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่เพื่อนนักเรียนด้วยกัน และบุคคลอื่นๆ นอกจากนี้ระหว่างการอบรมมีการประเมิน 3 ด้านเพื่อประเมินการมีส่วนร่วมของผู้รับการฝึกอบรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยการประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนและการประเมินโดยผู้อำนวยความสะดวกในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.01 นอกจากนี้การประเมินคุณลักษณะการเป็นวิทยากรด้วยการประเมิน 4 ด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ย การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนวิทยากร การประเมินโดยผู้ฟัง และการประเมินโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Gaston, K. J. (2000). “Global patterns in biodiversity. Nature, 405 (6783) p. 220–227.
[3] McPeek, M.A.; Brown, J.M. (2007). Clade Age and Not Diversification Rate Explains Species Richness among Animal Taxa. The American Naturalist, 169 (4), E97–E106.
[4] Nakpradub, S. (2013). Knowledge and Attitude Affecting Enterprise Resources Planning (ERP) System for Managing Officer Positions at Bangkok Spring Industrial Co., Ltd. Journal of Industrial Education. 12(1), p. 106.
[5] Ngarmsang, K., Thiengkamol, N., & Thiengkamol,C. (2012a). Development of an Environmental Education Prototype of Learning Disability Student through PAIC Process. EuropeanJournal of Social Sciences, 32 (2), p. 178-186.
[6] Chivian, E. and Bernstein, A.S. (eds). (2008).Sustaining Life: How Human Health Depends on Biodiversity. New York: Oxford University Press.
[7] Mendelsohn, R.; Balick, M. J. (1995). The value of undiscovered pharmaceuticals in tropical forests. Economic Botany, 49 (2), p. 223–228.
[8] Rabosky, D.L. (2009). Ecological limits and diversification rate: alternative paradigms to explain the variation in species richness among clades and regions. Ecology Letters,12 (8) p. 735–743.
[9] Saisunantharom, S. (2013). Model of Biodiversity Conservation. Dissertation of Philosophy of Science, Department of Environmental Education, Faculty of Environment and Resource Studies, Mahasarakham University.
[10] Sproull, N.L. (1995). Handbook of Research Method: A Guide for Practitioners andScientific teachers in the Social Science.(2nd ed.). Metuchen, NJ: Scarecrow Press.
[11] Sproull, N.L. (1995). Handbook of ResearchMethod: A Guide for Practitioners and Scientific teachers in the Social Science. (2nd ed.). Metuchen, NJ: Scarecrow Press.
[12] Hill, M. O. (1973). Diversity and evenness: a unifying notation and its consequences.Ecology, 54, p. 427–432.
[13] Office of National Economic and Social Development Plan. (2010). The Tenth National Economic and Social Development Plan B.E. 2550-2554.Retrieved from: https://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=90 (Sep 19, 2013).
[14] InWent-DSE-ZEL. (2002). Regional TrainingCourse “Advanced Training of Trainer”.Grand Jomtien Palace. Pattaya City.Thailand.
[15] Langly, A. (1998). “The Roles of Formal Strategic Planning” Long Range Planning. Vol. 21, No.1 p. 3-120.
[16] Rabosky, D.L. (2009). Ecological limits and diversification rate: alternative paradigms to explain the variation in species richness among clades and regions. Ecology Letters,12 (8) p. 735–743.
[17] Chaisena, K., Thiengkamol, N., &Thiengkamol, C. (2013). “Environmental Conservation Promotion for Food Stand Entrepreneur. European Journal of Scientific Research, 104 (4) p. 603-613.
[18] Gonggool, D., Thiengkamol, N., &Thiengkamol, C. (2012a). Development ofEnvironmental Education Volunteer Network through PAIC Process. European Journal of Social Sciences, 32 (1)p. 136-149.