มาตรฐานและตัวบ่งชี้การฝึกอบรมหลักสูตรสารวัตร

Main Article Content

วราภรณ์ เรืองรุ่ง
พนิต เข็มทอง
วรัทยา ธรรมกิตติภพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานและตัวบ่งชี้การฝึกอบรมหลักสูตรสารวัตร ของ กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การสร้างมาตรฐานและตัวบ่งชี้การฝึกอบรมหลักสูตรสารวัตร โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา จากกองบัญชาการศึกษา จำนวน 10 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์องค์ประกอบ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระยะที่ 2การตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำมาตรฐานและตัวบ่งชี้ไปปฏิบัติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรระดับรองสารวัตรขึ้นไป จากฝ่ายพัฒนาหลักสูตร สำนักการศึกษาและประกันคุณภาพ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1 – 8 กองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง และวิทยาลัยการตำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลซึ่งเก็บแบบสอบถามกลับมาได้ จำนวน 458 ชุด จากจำนวนทั้งสิ้น 550 ชุด ทั้งนี้ใช้ประชากรทั้งหมดในการแจกแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่ามาตรฐานและตัวบ่งชี้การฝึกอบรมหลักสูตรสารวัตรที่สร้างขึ้น ได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในระดับมากมีจำนวนทั้งหมด 7 มาตรฐาน 16 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตร 3 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านผู้สอน 2 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านผู้เรียน 2 ตัวบ่งชี้ 4)ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร 4 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านการประเมินผล 1 ตัวบ่งชี้ และ7)ด้านความคุ้มค่าของการฝึกอบรม 3 ตัวบ่งชี้ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรมีการปฏิบัติตามแนวทางของมาตรฐานและตัวบ่งชี้เพื่อให้การฝึกอบรมหลักสูตรเดียวกันแต่ต่างสถานที่สามารถดำเนินการได้มาตรฐานเดียวกันทั้งนี้ต้องสร้างความตระหนักให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับเห็นความสำคัญของการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อให้หน่วยศึกษาอบรมมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพเกิดความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป

Article Details

How to Cite
เรืองรุ่ง ว., เข็มทอง พ., & ธรรมกิตติภพ ว. (2014). มาตรฐานและตัวบ่งชี้การฝึกอบรมหลักสูตรสารวัตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), 135–141. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/126807
บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมตำรวจ, กองวิชาการ. 2526. ประมวลระเบียบ การตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี เล่ม 1 ประเภทบุคคล.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตำรวจ.[2] จิรัช ชูเวช. 2513. อนุสรณ์สารวัตรและผู้บังคับกองรุ่นที่ 1. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.)

[3] ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด และคณะ. 2551.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการปฏิรูปและพัฒนากระบวนการยุติธรรมและกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ.กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

[4] ราชกิจจานุเบกษา. 2542. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74ก, หน้า 2.
[5] Kemp, Nan and Richardson, Eileen. 1995.Quality assurance in nursing practice. Great Britain: (n.p.).

[6] พนิต เข็มทอง. (2552, 26 ธันวาคม).ตัวชี้วัดเกณฑ์การประเมินผล.เอกสารประกอบคำบรรยายของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ณ ห้องเรียนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (เอกสารอัดสำเนา)

[7] Best, J. W. 1986. Research in Education.New York: Prentice-Hall.

[8] กองบัญชาการศึกษา, ฝ่ายยุทธศาสตร์การศึกษา. 2554.ยุทธศาสตร์การศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(พ.ศ.2554 – 2559). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตำรวจ.

[9] ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. 2554.การจัดการทุนมนุษย์:กลยุทธ์ทางการแข่งขันที่ยั่งยืน.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 10(2),น. 1- 6.