ภาวะผู้นำด้านสุขภาพแบบองค์รวมของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

Main Article Content

วิลาวัลย์ พงษ์สุนทร
ธันยธรณ์ สุขพานิช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) ศึกษาภาวะผู้นำด้านสุขภาพแบบองค์รวมของผู้นำนักบริหารโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 2)ศึกษายุทธศาสตร์การบริหารจัดการการแพทย์ทางเลือก เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 3) ศึกษาภาวะผู้นำในการเสริมสร้างคุณภาพอย่างยั่งยืนด้วยการแพทย์ทางเลือกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 4)นำเสนอรูปแบบภาวะผู้นำด้านสุขภาพแบบองค์รวมของผู้นำนักบริหารโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในการใช้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการแพทย์ทางเลือก เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมในอนาคตการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวนรวมทั้งสิ้นจำนวน 42 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถามจำนวน410 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1) ภาวะผู้นำด้านสุขภาพแบบองค์รวมของผู้นำนักบริหารโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร แพทย์และพยาบาลต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพขั้นสูงเนื่องจากเป็นผู้ที่ต้องดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยซึ่งฝากชีวิตไว้ให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น


2) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการแพทย์ทางเลือกเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สรุปว่า ควรมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญมุ่งเน้นไปที่การนำสมุนไพรไทยและภูมิปัญญาไทยไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างสูงสุดยุทธศาสตร์แบบคู่ขนานกันไปในการแพทย์แผนปัจจุบัน และยุทธศาสตร์เครือข่ายในการขยายงานทางการแพทย์ทางเลือก


3) ภาวะผู้นำในการเสริมสร้างคุณภาพอย่างยั่งยืน ด้วยการแพทย์ทางเลือกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สรุปว่าการสร้างเสริมสุขภาวะคนไทยให้มีคุณภาพที่ดีตามแนวทางการแพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือก ต้องเสริมสร้างให้ครบทั้ง 5 มิติคือ
1. มิติทางกาย การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง การปราศจากโรคหรือความเจ็บป่วย
2. มิติทางจิตใจ การมีสภาวะทางจิตใจที่แจ่มใส การไม่มีความกังวล การมีความสุข การมีเมตตา
3. มิติทางสังคม การมีครอบครัวที่อบอุ่น การมีสำนึกต่อส่วนรวม การดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสังคม
4. มิติทางจิตวิญญาณ การมีคุณธรรมจริยธรรม ซื่อตรง ไม่โลภมากรู้จักพอ การมีความยึดมั่นกับบุคคลที่ควรเคารพสูงสุด
5. มิติทางอารมณ์ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ และการมีปัญญาในการแก้ไขปัญหา


4) สรุปรูปแบบ คือ“ผู้บุกเบิกด้านการแพทย์ทางเลือกแนวสมุนไพร” ไปสู่ “จอมยุทธผู้กุมขุมกำลังด้านความมั่นคงของมนุษย์แนวสุขภาพ”

Article Details

How to Cite
พงษ์สุนทร ว., & สุขพานิช ธ. (2014). ภาวะผู้นำด้านสุขภาพแบบองค์รวมของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), 128–134. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/126806
บท
บทความวิจัย

References

[1] เพ็ญศรี พงษ์ประภาพัน. 2553. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชนวัดปุรณาวาส.วิทยานิพนธ์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

[2] เฉก ธนะสิริ. 2553. การแพทย์ทางเลือกในประเทศไทย. [Online].ค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557. จากhttps://www.thaicentenarian.mahiddol.ac.th.

[3] โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. 2555.แนวคิดการดำเนินการสมุนไพร.ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย.(เอกสารอัดสำเนา)

[4] Yamane Taro. 1970. Statistic : AnIntroductory Analysis. Tokyo. HarperInternational Edition.

[5] สุขุม เฉลยทรัพย์. 2555.ภาวะผู้นำกับการจัดการปัญหาและการบริหารความขัดแย้งในการทำงาน(Problem and Conflict Management forLeadership). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (เอกสารอัดสำเนา).
[6] อรกัญญ์ เอี่ยมพญา. 2553. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นําสําหรับผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 9(1), น.43-55

[7] Henry Mintzberg. 1979. The Structuringof Organization: A Synthesis of research.Englewood Cliffs, N.J : Prentice-Hall.

[8] สุรเดช ประดิษฐบาทุกา.2555.ระบบสุขภาพและแนวทางการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า.จุลสารสาขาวิชาสุขภาพออนไลน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.7(2), น.43-58