ผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใ นรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Main Article Content

สรรเสริญ อินทรันต์
ฐิติยา เนตรวงษ์
รัชฎาพร ธิราวรรณ
นฤมล นิตย์จินต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ 2)เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กลุ่มทดลองเป็นนักศึกษา จำนวน 42 คน และกลุ่มควบคุมเป็นนักศึกษา จำนวน 51 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) แบบสอบถามเหตุผลเชิงจริยธรรม และ 3) แบบสอบถามเจตคติและพฤติกรรมจริยธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test ซึ่งผลการศึกษาพบว่า


1) การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.73 เหตุผลเชิงจริยธรรมอยู่ในขั้นที่ 5 ส่วนเจตคติและพฤติกรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมาก


2)เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เหตุผลเชิงจริยธรรม และเจตคติและพฤติกรรมจริยธรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05

Article Details

How to Cite
อินทรันต์ ส., เนตรวงษ์ ฐ., ธิราวรรณ ร., & นิตย์จินต์ น. (2014). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใ นรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), 113–119. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/126782
บท
บทความวิจัย

References

[1] ชนาธิป พรกุล, 2551. การออกแบบการสอนบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

[2] สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา, ทบวงมหาวิทยาลัย.2543. การสร้างหลักสูตรและรายวิชาใหม่ด้านคุณธรรมจริยธรรม :แนวทางพัฒนาบัณฑิตอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[3] วันชัย ทรงเมตตา. 2553.“พุทธศาสนากับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง”,บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 6(2), น.39 - 62.

[4] ธวัชชัย เพ็งพินิจ และคณะ. 2556.การพัฒนาตัวบ่งชี้การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของธุรกิจชุมชน: กรณีศึกษาหมู่บ้านโฮมสเตย์ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัย มสดม 9(3),น 15-29.

[5] มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 2554.คู่มือหลักสูตรสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตปีการศึกษา 2554.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

[6] จุฬารัตน์ ณ พิกุล. 2552.การใช้ชุดการสอนกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

[7] พนมพร เผ่าเจริญ และคณะ. 2553.โครงการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างคุณธรรมแก่ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

[8] จินตนา ตันสุวรรณนนท์ และคณะ. 2553.การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ ยั่งยืนของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

[9] ชวาลา เวชยันต์. 2544. การพัฒนาแบบการเรียนการสอนที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม เพื่อส่งเสริมความตระหนักในการรับใช้สังคมทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา หลักสูตรและการสอนคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[10] นงลักษณ์ วิรัชชัย ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติและศจีมาจ ณ วิเชียร. 2551.การวิจัยและพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.

[11] จิณห์นิภา ชูใจ. 2553. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยเซนต์หลุยส์.