การพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและจิตอาสาด้วยการเรียนแบบผสมผสานและโครงการรับใช้สังคมเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและจิตอาสาด้วยการเรียนแบบผสมผสานและโครงการรับใช้สังคมเป็นฐานของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการจัดการศูนย์บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศปีการศึกษา 2556 จำนวน 48 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1)แบบประเมินทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) แบบประเมินจิตอาสา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนด้วยการเรียนแบบผสมผสานและโครงการรับใช้สังคมสามารถพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและจิตอาสาแก่นักศึกษาได้ 2) ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.28, S.D. = 0.37) ส่วนจิตอาสาของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.36, S.D. = 0.39)โดยค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.15 และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.34, S.D. = 0.36) หลังการจัดการเรียนการสอนโดยมีค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.00
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. 2554.ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.
[3] วิจารณ์ พานิช. 2554. แนะ ม.ยุคใหม่หนุน นศ.เรียนรู้ผ่านโจทย์ปัญหา –รับใช้สังคม.ค้นเมื่อวันที่11 มีนาคม 56, จากhttps://www.scbfoundation.com/news_info_detail_th.php?nid=682&cat_id=1.
[4] ชวาลา เวชยันต์. 2544.การพัฒนาแบบการเรียนการสอนที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมความตระหนักในการรับใช้สังคมทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] Driscoll, M. 2002. Blended Learning: Let's get beyond the hype.E learning, 54, March p.1.
[6] Hiemstra, R. 1997. Self-directed learning.The International Encyclopedia of Education. 2 ed . Grate Britain: WheatonLtd, Exeter.
[7] ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. 2550. สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. กรุงเทพฯ: มิชชั่น มีเดีย.
[8] ฐิติยา เนตรวงษ์. 2555. การสอนโดยวิธีการไปทัศนศึกษาที่ส่งผลต่อความตระหนักในวัฒนธรรมไทยและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
[9] นภดล จักรแก้ว เลิศลักษณ์ กลิ่นหอมและรวีวรรณ ชินะตระกูล. 2556.การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่อง ภาษาซี วิชา การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 32-37.