การศึกษาความคงทนในการเรียนโดยใช้แผนผังทางปัญญาในบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างเอฟเฟ็กต์ในโปรแกรมกราฟิก

Main Article Content

ปวีณา สงวนชม
ฉันทนา วิริยเวชกุล
อรรถพร ฤทธิเกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลมีเดีย (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้แผนผังทางปัญญาในบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (3) ศึกษาความคงทนในการเรียนโดยใช้แผนผังทางปัญญาในบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย


กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาพณิชยการ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคพัทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 70 คน ได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan ที่ระดับความคลาดเคลื่อน ±5 % เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างเอฟเฟ็กต์ในโปรแกรมกราฟิก คุณภาพด้านเนื้อหาภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.53, S.D.=0.18) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อภาพรวมอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}=4.33, S.D.=0.01) และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.49-0.77 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.20-0.50 และค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.876 วิเคราะห์หาค่าทางสถิติโดยใช้ (t-test independent)


ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของคะแนนสอบเฉลี่ยหลังเรียน (gif.latex?\bar{x} =28.33, S.D.=1.25) และคะแนนสอบเฉลี่ยก่อนเรียน ( gif.latex?\bar{x}=19.46, S.D.=3.28) ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างเอฟเฟ็กต์ในโปรแกรมกราฟิกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการศึกษาความคงทนในการเรียนโดยใช้แผนผังทางปัญญา ผู้เรียนมีคะแนนสอบเฉลี่ยวัดซ้ำ (gif.latex?\bar{x} =28.43, S.D.=1.20)  กับคะแนนสอบเฉลี่ยหลังเรียน ( gif.latex?\bar{x}=28.33, S.D.=1.25) หลังจากที่เรียนผ่านไป 14 วัน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างเอฟเฟ็กต์ในโปรแกรมกราฟิก ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
สงวนชม ป., วิริยเวชกุล ฉ., & ฤทธิเกิด อ. (2015). การศึกษาความคงทนในการเรียนโดยใช้แผนผังทางปัญญาในบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างเอฟเฟ็กต์ในโปรแกรมกราฟิก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 321–327. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124591
บท
บทความวิจัย

References

[1] Buzan, T. and Buzan, B. 1997 The Mind Map Book :Radiant Thinking. London: BBC Book.

[2] กระทรวงศึกษาธิการ.กรมอาชีวศึกษา. 2556. การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

[3] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และไพบูลย์ เกียรติโกมล. 2541. Creating IMMCAI Package. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 1(1), น. 14-18.

[4] ชนิดา บุญชรโชติกุล. 2547. การประยุกต์ใช้ Mind Mapping และ Project Management วิเคราะห์โครงการเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สาร NECTEC.

[5] บุญชม ศรีสะอาด. 2545. วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

[6] สุพรรณี เสนภักดี. 2553. การใช้วิธีการสอนแบบ โครงงานเพื่อสร้างความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดตะกล่ำ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ศศม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[7] ฐิติยา ไชยชนะ. 2549. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] สุมลทิพย์ ศรีรัตนพิบูล. 2549. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทบทวนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องาน อาชีพเรื่อง ความรู้เบื้องต้นและองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัย เทคนิคสมุทรปราการ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[9] เศรษฐ์ ไชยมงคล. 2551. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสอนเสริม เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษาซี สำหรับไมโคร คอนโทรลเลอร์ MCS51. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[10] โดมินิค เพ็งจาค. 2552. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทบทวน วิชาวิจัยทางการศึกษา เรื่อง ประสิทธิภาพของ แบบวิจัยสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[11] ธนิศรา มะลิซ้อน. 2548. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้แผนผังทางปัญญาที่ส่งเสริมความคงทนในการเรียน วิชาการสื่อสารมวลชน. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.