การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เสาวภา กลิ่นสูงเนิน
สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี

บทคัดย่อ

การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่มีการนำระบบความจริงเสมือนมาผนวกกับเทคโนโลยีภาพเพื่อสร้างสิ่งที่เสมือนจริงให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นสื่อที่มีความสมบูรณ์ในตัวทั้งด้านเนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพ 3 มิติ และเสียง ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ที่เรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนจำนวน 40 คน ใช้เพื่อทดลองหาประสิทธิภาพของสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง  กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนจำนวน 40 คน เป็นกลุ่มทดลองเพื่อเปรียบเทียบหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  กลุ่มที่ 3 เป็นนักเรียนจำนวน 40 คน ใช้เป็นกลุ่มควบคุม ที่เรียนด้วยวิธีปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ แบบประเมินคุณภาพของสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00  ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.45 - 0.78  ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.40  และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์ และสถิติทดสอบ t-test แบบ Independent Samples


ผลการวิจัยพบว่า สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.92) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.88) ประสิทธิภาพของบทเรียนมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 89.67/87.31  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่า 80/80 และนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
กลิ่นสูงเนิน เ., ตันติวงศ์วาณิช ส., & เพ็ชร์แสงศรี ศ. (2015). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 288–295. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124572
บท
บทความวิจัย

References

[1] วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. 2554. การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13, น.121-127. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2557, จาก https://www.tci- thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/download/9351/8462.
Wiwat Meesuwan. 2011. Augmented Reality Technology For Learning Mix Reality by Amire. Education Journal, 13, P.121-127. Retrieved April 30, 2014, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/download/9351/8462.

[2] กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Ministry of Education. 2008. The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok : Agricultural Cooperatives of Thailand printer.

[3] พนิดา ตันศิริ. 2553. โลกเสมือนผสานโลกจริง. ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557,https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/ executive_journal/30_2/pdf/aw28/pdf
Panida Tunsiri. 2010. Augmented Reality.Retrieved April 9, 2014, from https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/30_2/pdf/aw28/pdf

[4] ADDIE Model. 2552. ทฤษฎีและหลักการออกแบบเว็บไซต์. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2557 จาก https:// 202.29.15.37/wbt/menu_7_3.php
ADDIE Model. 2009. Theory and Website Design. Retrieved April 9, 2014, from https://202.29.15.37/wbt/menu_7_3.php

[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2521. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chaiyong Brahmawong. 1978. Instructional Media System. Bangkok : Chulalongkorn University printer.

[6] Bloom’s Taxonomy Revised. 2549. ทฤษฎีการเรียนรู้ Bloom’s Revised. ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557, จาก https://sirikanya926.wordpress.com/2014/01/18/blooms-revised-taxonomy-2001/

[7] ปัญจรัตน์ ทับเปีย. 2555. การพัฒนาชุดสื่อประสม แบบโลกเสมือนผสานโลกจริง เรื่องโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร
Punjarat Tubphea. 2012. The development of augmented reality multimedia package about the structure and functioning of the heart for Mathayomsuksa 5 students. Master of Science Thesis, Major is Education of Technology. Phitsanulok : Naresuan University.

[8] นวรัตน์ แซ่โค้ว. 2553. ความจริงเสมือนเพื่อการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์แนะนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนขนาดใหญ่. วารสารวิจัยรามคำแหง สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16, น.28-36. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2557, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/download/33436/28361.
Naowarat Sae- kow. 2010. Virtual Reality for the Construction Computer Assisted Instruction Interactive Multimedia Courseware in Introduction Hardware for Personal Computer in the Big Private Universities. Ramkhamhaeng Research Journal of Sciences and Technology, 16, P.28-36. Retrieved April 30, 2014,from https://www.tci- thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/download/33436/28361.

[9] วรัญญา ลี้มิ่งสวัสดิ์. 2557. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงด้วยการ์ตูนแอนิเมชั่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน เรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), น. 82-91. ค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2558,จาก https://www.inded.kmitl.ac.th/journal/file/ 789.doc.
Waranya Leemingsawat. 2014. The effect of Learning Management using Augmented Reality with Cartoon Animation on Signs and Musical Symbols for Students in Secondary School. Journal of Industrial Education, 14(3), P. 82-91. Retrieved August 30, 2015, from https://www.inded.kmitl.ac.th/ journal/file/789.doc.