การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา

Main Article Content

น้ำฝน กระมล
สิริพร ปาณาวงษ์
วารีรัตน์ แก้วอุไร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา โดยใช้ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย จำนวน 35  คน ได้มาจากการใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดการคิดเชิงระบบ  วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ มี 6 องค์ประกอบได้แก่  1) แนวคิดทฤษฎี    2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์  4) เนื้อหา  5) กิจกรรมการเรียนการสอน มี 7 กิจกรรม คือ กระตุ้นให้เกิดปัญหา ค้นคว้าข้อมูล พัฒนาการคิด  แลกเปลี่ยนและปรับปรุงการคิด นำเสนอความคิด อภิปรายผลการคิด ประเมินความคิด 6) การประเมินผล โดยมีคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบอยู่ในระดับมาก และมีความเหมาะสมเป็นไปได้ในการนำไปใช้  2. การคิดเชิงระบบของนักศึกษาหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ อยู่ในระดับมาก และสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
กระมล น., ปาณาวงษ์ ส., & แก้วอุไร ว. (2015). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 281–287. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124566
บท
บทความวิจัย

References

[1] Anderson, Virginia, & Johnson, Lauren 1997. Systems thinking Basics : From Concepts to Causal Loops. Waltham : Pegasus Communications.

[2] Sweeney, Linda, Booth. 1999. Guidelines for daily Systems Thinking Practice. Waltham: Pegasus Communication.

[3] นพคุณ นิศามณี. 2548. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking).วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 55(17), น. 36-42.

[4] ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์ และอติยศ สรรคบุรานุรักษ์. 2558. การบริหารจัดการหลักสูตรในศตวรรษที่ 21: ห้องเรียนกว้างเท่ากับ โลก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(28), น. 1-14.
Sankaburanurak, S. and Sankaburanurak, A. 2015. Curriculum Management in 21st century: A Classroom as the World. Socail Sciences Research and Academic Journal, 10(28), p. 1-14.

[5] Keeves,J.P. 1997. Models and Models building. In keeves, J.P. (ed) Educational research, methodology and measurement : An International Handbook. 2nd ed, Oxford : Peraman Press.

[6] Joyce, B. and Weil, M. 2000. Models of Teaching. 6th ed. Boston: Alyn and Bacon.

[7] ทิศนา แขมมณี. 2556. รูปแบบการเรียนการสอน:ทางเลือกที่หลากหลาย. ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

[8] Klausmeier,H.J. 1985. Educational Phychology. 5th ed. NewYork: Harper & Row.

[9] Piaget, J. 1972. Intellectual evolution for Adulthood. Human Development, 19, p. 1-12.

[10] Vygotsky, L.S. 1978. Mind in society: The developmental of higher psychological process. In M. Cole, V. John- steiner, S. Scribner & E. Suberman (Eds.), The developmental of higher psychological processes. p. 84-91. London: Harvard University Press.

[11] Senge, P. 1993. The fifth discipline :The art & practice of the learning organization. London : Century Business.

[12] Verhoeff, R.P. 2003. Towards systems thinking in cell biology education. Master’s thesis. University of Utrecht.

[13] มนตรี แย้มกสิกร. 2546. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขา เทคโนโลยีทางการศึกษา. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Yamkasikorn, M. 2003. A Development of Instructional Model to Create Systems Thinking of the Undergraduate Student Majoring in Educational Technology. Dissertation, Ed.D.(Curriculum Research and Development) Graduate School, Srinakharinwirot University.

[14] บุญเลี้ยง ทุมทอง. 2553. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบวิชาคณิตศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Thumthong, B. 2010. The Development of Instructional Model Encouraging the Systems Thinking Process for Mathematics, Level 4. Doctor of Education Thesis in Curiculum and Instruction, Graduate School, Khon Kaen University.

[15] Assaraf, O.B. 2010. System Thinking Skills at the Elementary School Level. JOURNAL OF RESEARCH IN SCIENCE TEACHING, 47(5), p. 540-563.

[16] พิสณุ ฟองศรี. 2552. วิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์.

[17] กรมวิชาการ. 2545. แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

[18] วารีรัตน์ แก้วอุไร. 2557. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่สังคมแห่งคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้. วารสารวิจัยการศึกษา. 2(3), น. 46-58.
Kaewurai, W. 2014. A development of learning management model for developing Quality of learner leading to moral, wisdom, and learning society. Journal of Education Research, 2(3), p. 46-58.

[19] สายัณห์ วงศ์สุรินทร์. 2557. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), น. 74-82.
Wongsurin, S. 2014. The Development of Instructional Model According to the Concept of Contemplative Education to develop the Discipline of Secondary Students. Journal of industrial education, 13(3), p. 74-82.

[20] สุขวิทย์ โสภาพล. 2554. แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้ และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ในสหวิทยาการวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 10(2), น. 172-180.
Sopaphon, S. 2011. The Guideline of Self- Study Management in the Subject of Interdisciplinary Approaches to Life Sciencency Economy. Journal of industrial education, 10(2), p. 172-180.

[21] บุญเลี้ยง ทุมทอง. 2552. การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงระบบวิชาคณิตศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่ 4. วารสารวิจัย มข., 9(4), น. 75-82.
Thumthong, B. 2009. A Synthesis of an Instructional Model Encouraging Learner’s Systematic Thinking Process in a Mathematics, Level 4. KKU RESEARCH JOURNAL, 9(4), p. 75-82.

[22] สุนิภา ชินวุฒิ. 2555. ประสิทธิผลของการเรียนแบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบของนักศึกษาพยาบาล. งาน วิจัยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี.
Chinawut, S. 2012. The Effectiveness of Co-operative Learning Method for Promoting Systems Thinking Process of Nursing Students. Research, Boromarajonani College of Nursing Chon Buri.