การพัฒนาระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Main Article Content

นพพล อินศร
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี
อรรถพร ฤทธิเกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2)เพื่อสร้างและพัฒนาระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้มีคุณภาพ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองนี้คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา จำนวน 50 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1)แบบสอบถามแนวทางการพัฒนาระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2)ระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3)แบบประเมินระดับคุณภาพของระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลแนวพัฒนาระบบ วิเคราะห์คุณภาพของระบบ และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1)ผู้ทรงคุณวุฒิให้แนวทางการพัฒนาระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในด้านรูปแบบการใช้งานระบบจัดการวีดิทัศน์มีระดับคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านกลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ในการพัฒนาระบบจัดการวีดิทัศน์ ส่วนด้านอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้สื่อวีดิทัศน์มีระดับความต้องการมากเป็นลำดับท้ายสุด 2)ระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถนำไปใช้ในการจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยการแสดงผล สืบค้น ค้นหา จัดเก็บสื่อวีดิทัศน์ และบันทึกค่าทางสถิติต่างๆ ได้ตรงตามที่ได้ศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบไว้ โดยผลการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวมมีคะแนนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.98, S.D. = 0.29) และ 3)ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พบว่าอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.07, S.D. = 0.35)

Article Details

How to Cite
อินศร น., เพ็ชร์แสงศรี ศ., & ฤทธิเกิด อ. (2015). การพัฒนาระบบจัดการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 267–273. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124549
บท
บทความวิจัย

References

[1] Bcoms. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์.ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม.2554. จาก https://www.bcoms.net/network.

[2] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. eDLTV. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2554.จาก https://edltv.vec.go.th.

[3] Petertigon. SDLC. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2554. จาก https://www.oknation.net/blog/wish2782/2011/02/14/entry- 1.

[4] Nisanart. DBLC. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2554.จาก https://cs.ssru.ac.th/nisanart/file/db.

[5] นพมาศสิริ วงศ์บา. 2554. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวิบูลย์ บริหารธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Wongba, N. 2011. The development of information technologies for quality assurance education of Wiboon School of Business Administration. Thesis in Technology education vocational and technical education. Faculty of Industrial Education King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

[6] ศรีกุล นันทะชมภู. 2555. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ. แผนระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

[7] จีราภรณ์ รักษาแก้ว. 2539. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

[8] วิชัย พลอยประเสริฐ. 2556. การพัฒนาระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม,12(2), น. 48-55.
Ployprasert, W. 2013. Development of an Electronic Circulation System Using the Internet. Journal of Industrial Education,12(2), p. 48-55.

[9] จินตวีร์ คล้ายสังข์. 2553. หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โครงการมหาวิทยาลัย ไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.