การพัฒนามาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงาน

Main Article Content

กิตติเชษฐ์ สวัสดิ์ธนาสกุล
วรัทยา ธรรมกิตติภพ
สุนทรา โตบัว

บทคัดย่อ

มาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงาน เป็นเครื่องมือในการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานอย่างมีมาตรฐาน  ซึ่งวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนามาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา  แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษามาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงาน  ประชากรเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจ จำนวน 10 คน และกลุ่มครูอาจารย์ระดับอาชีวศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับคุณลักษณะอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงาน ตามแนวทางวิธีการวิเคราะห์หน้าที่งาน ระยะที่ 2 เป็นการตรวจสอบ (ร่าง) มาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงาน ประชากร ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานสำนักงานของบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน ISO 9000, 9001 ของสำนักงานรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์


ผลการวิจัยพบว่า  ชื่อมาตรฐานอาชีพ คือ “มาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงาน” ประกอบด้วย หน้าที่หลัก 4 หน้าที่  ได้แก่  หน้าที่หลักที่ 1 จัดการเอกสาร  มี 3 หน้าที่  หน้าที่หลักที่ 2 สนับสนุนการบริหารองค์กร มี 5 หน้าที่ย่อย หน้าที่หลักที่ 3 ติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์  มี  3  หน้าที่ย่อย และหน้าที่หลักที่ 4 จัดการงานพัสดุ อุปกรณ์ มี 2 หน้าที่ย่อย ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ สถานประกอบการสามารถนำมาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงานนี้ไปใช้ในการพิจารณาประเมินสมรรถนะการทำงานของบุคลากรในหน่วยงาน หรือกำหนดความสามารถในการรับบุคลากรเข้ามาทำงานได้ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรนำมาตรฐานอาชีพเทคโนโลยีสำนักงานที่พัฒนาขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตกำลังคนให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
สวัสดิ์ธนาสกุล ก., ธรรมกิตติภพ ว., & โตบัว ส. (2015). การพัฒนามาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยีสำนักงาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 259–266. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124524
บท
บทความวิจัย

References

[1] ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. 2555. บทวิจารณ์หนังสือ อ่าน HR มาเล่า เอา HR มาเขียน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), น.7. Pariyaporn Tungkunanan. 2012. Criticism of HR Synergy No.1 in OD Major. Journal of Industrial Education. 11(1), p. 7.

[2] วรัทยา ธรรมกิตติภพ. (2552, 20 เมษายน 2555). เอกสารคำสอน 01176611 วิชานวัตกรรม และกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทางอาชีวศึกษา. ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. (เอกสารอัดสำเนา)

[3] ชนะ กสิภาร์. ม.ป.ป. มาตรฐานอาชีพ. ค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2555, จาก https://thaivq.org/

[4] UK Commission for Employment and Skills and the Alliance of Sector Skill Councils. 2012. National Occupational Standards Quality Criteria with Explanatory Notes. Retrieved August 19, 2012, from https://nos.ukces.org.uk/

[5] รพีพรรณ วงศ์ประเสริฐ. 2550. การบริหารสำนักงาน. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[6] เนตรพัณณา ยาวิราช. 2553. การจัดการสำนักงาน. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัล เอ็กเพรส.

[7] พูลสุข สังข์รุ่ง. 2551. การบริหารงานสำนักงาน. กรุงเทพฯ : เสมาสาสน์.

[8] สุรัสวดี ราชสกุลชัย. 2546. การบริหารสำนักงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.