ปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ส่งผลต่อจิตแห่งวิทยาการของนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Main Article Content

Aukkapong Sukkamart

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ส่งผลต่อจิตแห่งวิทยาการ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนกับจิตแห่งวิทยาการ 3) เพื่อศึกษาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ส่งผลต่อจิตแห่งวิทยาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจองเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 315 คน และสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ และด้านการประเมินตามสภาพจริง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95, .96, .92 และ .96 ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (.56) ด้านการสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ (.62)  และด้านการประเมินตามสภาพจริง (.62) มีความสัมพันธ์กับจิตแห่งวิทยาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ค่าน้ำหนักความสำคัญที่เป็นคะแนนมาตรฐานของปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ส่งผลต่อจิตแห่งวิทยาการ ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ และด้านการประเมินตามสภาพจริง มีค่าน้ำหนักเท่ากับ .09, .33 และ .33  ตามลำดับ 

Article Details

How to Cite
Sukkamart, A. (2015). ปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ส่งผลต่อจิตแห่งวิทยาการของนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 305–311. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124499
บท
บทความวิจัย

References

[1] Garner, H. 2006. Five Minds for the Future. Boston, MA: Harvard Business School Press.

[2] Office of the Prime Minister. 2002. National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Bangkok : Office of the National Education Commission

[3] Yamane ,T. 1973. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.

[4] Office of the National Education Commission. 2000. Guidelines for quality assurance in education : in order to be assessed externally. Bangkok: The committee of learning reform office.

[5] Office of The Civil Service Commission. 2007a. Five Minds for the Future : Discipline Mind. Bangkok: Office.

[6] Bloom, B. 1964. Stability and change in human characteristics. New York: John Wiley & Sons.

[7] Gunt Intuwog and Pairote Nathiang. 2012. Student satisfaction with services and convenience faculty of industrial technology. Journal of industrial education, 11(3), p 74-90.

[8] Pimpun Techakup. 2001. Child-centered learning Teaching Approaches Methodologies and Teaching Techniques. Bangkok: The Master Group Management.

[9] Ministry of Education. 2005. Measurement and Evaluation of Standards based curriculum in Basic Education Curriculum BE 2001 Department of Mathematics. Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand printing office.