พฤติกรรมเชิงจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ยาซา มะหะมาน
ฉันทนา วิริยเวชกุล
เลิศลักษณ์ กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา โดยจำแนกตามชั้นปี และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ที่ศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 254 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยแบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ t-test แบบ Independent Sample t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของ Scheffe’ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ


  1. นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.10)

  2. นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ที่มีชั้นปีต่างกัน มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ที่สังกัดสาขาวิชาต่างกัน มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
มะหะมาน ย., วิริยเวชกุล ฉ., & กลิ่นหอม เ. (2015). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 283–291. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124496
บท
บทความวิจัย

References

[1] สุวิมนต์ ปฏิมินต์. 2554. พฤติกรรมการใช้ อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา วิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[2] ปราโมทย์ ตงฉิน. 2552. สภาพและปัญหาการใช้งาน อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล พระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม. 8(1), น.209 - 216.

[3] นภัสกร กรวยสวัสดิ. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 28(3), น.81- 88.

[4] วิมลพรรณ อาภาเวทและคณะ. 2554. พฤติกรรม การสื่อสารในเฟชบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. งานวิจัยคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

[5] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2556. สถิติเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557,จาก https://oho.ipst.ac.th/index.php

[6] สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2553. จรรยาบรรณ 10 ประการเกี่ยวกับจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556,จาก https://ictkm.info/content/detail/64.html

[7] วีระ ประดิษฐสุวรรณ. 2552.พฤติกรรมเชิงจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] จิรายุ สุดสงวน. 2549. มารยาทการใช้ อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.