ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานชาวพม่า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ

Main Article Content

วิชัยรัตน์ หงษ์ทอง
วรนารถ แสงมณี
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานชาวพม่า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ 2)ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานชาวพม่า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ แรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทำงานเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยขนาดตัวอย่างจำนวน 380 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า


      1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานชาวพม่า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี อยู่ในระดับค่อนข้างดี


      2) การสื่อสาร บรรยากาศองค์การ การสนับสนุนจากองค์การ และ การฝึกอบรมและการพัฒนามีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานชาวพม่าในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานชาวพม่าในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการได้ร้อยละ 71.9

Article Details

How to Cite
หงษ์ทอง ว., แสงมณี ว., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2015). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานชาวพม่า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 226–233. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124489
บท
บทความวิจัย

References

[1] องค์ความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2555. บทความและบทวิเคราะห์ AEC [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thai-aec.com/category/aec-analysis (วันที่สืบค้น 16 กันยายน 2556)

[2] สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว 2555. ข้อมูลการแพร่ข้อมูลสถิติรายเดือน [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://wp.doe.go.th/joomla_wp/index.php/2013-07-25-03-45-44/2013-07-25-03-50-28/2013-07-25-03-51-48 (วันที่สืบค้น 16 กันยายน 2556)

[3] สยามธุรกิจ ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2556, จาก:https:// www.siamturakij.com/main/news_content.php?nt=4&nid=1400

[4] นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doosupply.com/estate.php?id=4 (วันที่สืบค้น 20 กันยายน 2556)

[5] Chandranshu, S.H.2012. FACTORS AFFECTING QUALITY OF WORK LIFE: Empirical Evidence From Indian Organizations.D.Phil.in Psychology, Amity Business School, Amity University Campus.

[6] Walton, R.E. 1974. Improving the Quality of work life. Harvard Business Review, May-June, p 12-16.

[7] Bruce, W. and Blackburn, J.W.1992. Balancing Job Satisfaction & Performance : a Guide for Human Resource Professionals. P.166-175 New York: African Journal of Business Management.

[8] บุญชม ศรีสะอาด. 2553. การวิจัยเบื้องต้น กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

[9] ชูชัย สมิทธิไกร. 2554. การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[10] สุมินทร เบ้าธรรม. 2554. การรับรู้ถึงการได้รับกการสนับสนุนจากองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และความตั้งใจที่จะลาออกจากงานโดยสมัครใจของบุคลากรในสังกัมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, 4(1), น.37 – 55.

[11] เชาว์วัฒน์ บุญมี. 2556. สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุใน โรงงานอุตสาหกรรมของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทไทยนิปปอนสตีลเอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่นจำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(1),น. 176 – 177

[12] ชนกันต์ เหมือนทัพ. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

[13] Ballows, R., Gilson, T.Q., and Odiorne, G.S.1962. Their Dynamics and Development.Englewood cliffs,NJ: Prentice-Hall.

[14] รุ่งทิวา อินตะใจ. 2553. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน บริษัทโรงพยาบาลปิยะเวท จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.