บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริง เรื่องการควบคุมระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริงเรื่องการควบคุมระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมด้วย PLC เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่าง กลุ่มทดลอง ที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริง เรื่องการควบคุมระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมด้วย PLC และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่ไม่มีชุดโปร แกรมจำลองเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานช่างแผนก Hair care Tube/Pouch ของบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน คือ กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริง เรื่องการควบคุมระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมด้วย PLC และ กลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยบท เรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่ไม่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริง ประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริงเรื่องการควบคุมระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมด้วย PLC หาจากผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของกลุ่มทดลอง จากนั้นนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย สูตร t- test (Independent Sample)
ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปว่า บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริง เรื่องการควบ คุมระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมด้วย PLC มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.00:85.41 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80:80 ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของกลุ่มทดลอง ที่เรียนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริง เรื่องการควบ คุมระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมด้วย PLC สูงกว่า กลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่ไม่มีชุด โปรแกรมจำลองเสมือนจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] จรัสศรี รัตตะมาน. 2551. การฝึกอบรมผ่านเว็บ. ค้นเมื่อวันที 5 พฤษภาคม 2556, จาก https://www. bangkokgis.com/webbased_training/aboutus/ aboutus.html
[3] ออมรอน อิเล็กทรอนิคส์. 2552. การใช้งาน PLC ระดับ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[4] อรอุมา แก้ววงษา. 2552. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบจำลองสถานการณ์. ค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2556, จาก htt://learners.in.th/blogs/posts/167762
[5] บุญชม ศรีสะอาด 2545. วิธีการสร้างสถิติ สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[6] ชัยยงค์ พรหมวงค์และคณะ. 2520. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2540. สถิติวิทยาทางการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[8] ธณัฐภรณ์ สนิทมาก. 2555. การพัฒนาบทเรียนผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่องนิพจน์ และตัวดำเนินการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแก่งคอย จังหวัด สระบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(2), น. 146-152.
[9] อัญชลี เตมา. 2551. บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง.
[10] บุญส่ง บุญสืบ. 2551. บทเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เรื่องวงจรระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะ และเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[11] ลัลน์ลลิต ส์บประดิษฐ์. 2555. เปรียบเทียบผลของ การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีสถานการณ์ จำลองประกอบบทเรียนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงที่มี ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับการสอนปกติ สำหรับ นักเรียนช่วงชั้นปีที่ 3. วารสารวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์, 9(2), น. 68-73
[12] สุพจน์ เหล่างาม. 2553. เทคนิคการจำลองสถานการณ์ (Simulation Model). ค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556, จาก https://logisticscorner.com/index.