บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องการผูกเงื่อนและการผูกแน่น

Main Article Content

มณิชญา ดาศรี
กาญจนา บุญภักดิ์
เลิศลักษณ์ กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพ ประสิทธิภาพบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องการผูกเงื่อนและการผูกแน่น และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องการผูกเงื่อนและการผูกแน่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเทศบาล 2 “วิภัชศึกษา” สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหาประสิทธิภาพ จำนวน 20 คนและกลุ่มเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องการผูกเงื่อนและการผูกแน่น แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 3.67 ถึง 5.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และค่าความเชื่อมั่นเป็นเท่ากับ 0.87 ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ t-test แบบ Dependent Samples


ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องการผูกเงื่อนและการผูกแน่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพเฉลี่ยด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (x̄ = 4.48,S = 0.36) ด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี ( x̄ = 4.27,S = 0.58) มีประสิทธิภาพ 80.45/87.17 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งเอาไว้

Article Details

How to Cite
ดาศรี ม., บุญภักดิ์ ก., & กลิ่นหอม เ. (2015). บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องการผูกเงื่อนและการผูกแน่น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 198–204. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124486
บท
บทความวิจัย

References

[1] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2545. Designing e-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[2] ไพโรจน์ ตีรรธนากุล. 2546. การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับ e – learning. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

[3] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2545. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 8 - 15. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

[4] Bloom, Benjamin A. 1956. Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive Domain. New York : David Mc Kay Company.

[5] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.

[6] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2551. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[7] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2542. เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพครูหน่วยที่ 7-15. พิมพ์ครั้งที่ 101. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช

[8] บุญชม ศรีสะอาด. 2545. วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาร์น.

[9] จิรวัฒน์ นนตระอุดร พรรณี ลีกิจวัฒนะและ พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์. 2554. บทเรียนผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องการใช้งาน ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เบื้องต้น วิชาไมโครคอมพิวเตอร์ และการใช้งาน 1 สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพแผนกวิชาอิเลกทรอนิกส์วิทยาลัยเทคนิค สมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), น.172-179.

[10] ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. 2544. การพัฒนาระบบการเรียน การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[11] บัญชา ปัญโญ. 2552. การพัฒนาบทเรียนบน เครือข่ายเรื่องการจัดโต๊ะหมู่บูชาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

[12] อรญา จำเริญศรี พรรณี ลีกิจวัฒนะและ พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์. 2554. การพัฒนา บทเรียนผ่านเว็บเรื่ององค์ประกอบของระบบ คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11 (1), น.51-58.