ตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

พราวนภา เวียงคำ
บุญจันทร์ สีสันต์
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เพื่อศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย   โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า


1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านการสื่อสาร ด้านความบันเทิง และด้านการศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก


2) ตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือ ตัวแปรด้านสื่อ(X3) ด้านเพื่อน(X2) และด้านครอบครัว(X1) โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัว สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ร้อยละ 45.70 โดยสามารถเขียนสมการคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้


สมการคะแนนดิบ                   gif.latex?y\hat{}   = .919 + .356(X3) + .262(X2) + .132(X1)


สมการคะแนนมาตรฐาน          gif.latex?z\hat{}    = .394Zx3  + .287ZX2 + .128ZX1

Article Details

How to Cite
เวียงคำ พ., สีสันต์ บ., & ตั้งคุณานันต์ ป. (2015). ตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 161–168. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124471
บท
บทความวิจัย

References

[1] กุลภัสสร์ ธรรมชาติ. 2553. การใช้ Web 3.0 เพื่อพัฒนาเว็บไซต์. กรุงเทพฯ: สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

[2] คมกริช ทัพกิฬา. 2540. พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโสตทัศนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[3] ประสบสุข ปราชญากุล. 2545. ศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

[4] อัจฉรีสา ชุมมานนท์. 2548. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[5] รัชฎาภรณ์ รังสีประเสริฐ. 2552. ทัศนคติและปัจจัย ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเล่นเว็บประเภท SOCIAL NETWORK HI5 ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[6] ปราณี จ้อยรอด. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของ นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(1), น. 71-81.

[7] วรวรรณ บุญเดช. 2555. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนช่วง ชั้นที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 6(2), น. 73-82.

[8] สมคิด เลิศพิริยประเสริฐ. 2540. การศึกษาความคิดเห็นเรื่องปัจจัยด้านโครงสร้างสังคมและทัศนคติของคนไทยที่สัมพันธ์กับพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[9] มณีวัลย์ เอมะอมร. 2544. อินเทอร์เน็ต: การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ใช้ที่เป็นคนไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

[10] ศิริประภา ศรีสุริยจันทร์. 2545. ลักษณะและพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตของนิสิตและอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

[11] กรองทอง เกิดนาค. 2551. พฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ www.hi5.com. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารสื่อสารมวลชน) คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[12] ภาษิตา ตันธนวิกรัย. 2551. ทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคม. โครงการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[13] สุพรรณนา เอี่ยมสะอาด. 2552. พฤติกรรมและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแลการสื่อสารเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาเอเซียอาคเนย์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[14] ชนากิตติ์ ราชพิบูลย์. 2553. การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

[15] ศรัณยา หวังเจริญตระกูล. 2553. พฤติกรรมในการใช้ แรงจูงใจ และการรับรู้ปัญหาจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[16] อรุณรัตน์ ศรีชูศิลป์ และ อนุรุทธ์ สติมั่น. 2555. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาปริญญาบัณทิต คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[17] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2554. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[18] ปณิตา วรรณพิรุณ และ วีระ สุภะ. 2555. รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556, จาก https://support.thaicyberu.go.th/stream/vod.php?lang=th&event=nec2013_6

[19] วิภาณี จันทรังษี. 2556. การใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสันตพล จังหวัดอุดรธานี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 10-18.

[20] ศิริกาญจน์ ยิ้มประยัติ. 2548. อิทธิพลของสื่อต่อวัยรุ่น. วารสารวิชาการคณะวิทยาการจัดการ, 1(1), น. 87-93.