ความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานบริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

Main Article Content

วันใหม่ ทิพโอสถ
วิสุทธิ์ สุนทรกนกพงศ์
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงาน บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด และ (2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานบริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงาน บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 339 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  • ในภาพรวมระดับความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานบริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานด้านความรู้สึกมีระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ และด้านพฤติกรรมที่แสดงออก

  • แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงในงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงาน โดยตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถอธิบายความผันแปรของความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงาน ได้ร้อยละ10

Article Details

How to Cite
ทิพโอสถ ว., สุนทรกนกพงศ์ ว., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2015). ความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานบริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 145–152. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124466
บท
บทความวิจัย

References

[1] คมสัน นวคุณสุชาติ. 2555. โซนี่-ชาร์ป ขาดทุนสะท้อนยุคตกต่ำอุตสาหกรรมญี่ปุ่น. ค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556, จาก https://news.voicetv.co.th/global/46533.html.

[2] สำนักพัฒนาการตลาดระหว่างประเทศ กรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศ. 2556. รายงานสถานการณ์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น เดือน พฤศจิกายน 2555. ค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556, จาก https://www.ditp.go.th.

[3] บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด. 2555. ปริมาณการขายสินค้าในปี 2555. ฉะเชิงเทรา: บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด. (เอกสารอัดสำเนา)

[4] บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด. 2555. จำนวนพนักงานตั้งแต่ปี 2545-2555. ฉะเชิงเทรา: บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด. (เอกสารอัดสำเนา)

[5] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2550. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์พริ้นท์.

[6] หทัยรัตน์ ตันสุวรรณ. 2550. ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ความจงรักภักดีต่อองค์กร และบรรยากาศในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[7] อารีรัตน์ หมั่นหาทรัพย์. 2554. ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการออกนอกระบบ และความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาลศิริราช. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[8] ศจี อนันต์นพคุณ. 2542. กลวิธีการบริหารงาน อย่างมีประสิทธิภาพ. สงขลา: ชลบุตรกราฟฟิค.

[9] รุ่งธรรม เหลียววัฒนกิจ. 2551. ความมั่นคงในอาชีพ ของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร สายบริหารงาน และปฏิบัติงานทั่วไป. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[10] รัชนี ตรีสุทธิวงษา. 2552. ความสัมพันธ์ระหว่าง ความพึงพอใจในการทำงาน ความจงรักภักดี ต่อองค์กรและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญา การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

[11] ปัทมาภรณ์ สรรพรชัยพงษ์. 2545. ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงาน กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการงาน ผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการ พยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[12] น้ำผึ้ง บุบผา. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความ ภักดีต่อองค์กร : บริษัทในเครือสยามกลการ จำกัด. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหลักสูตรปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[13] ผาสุก ปาประโคน. 2544. ผลการให้คำปรึกษาเป็น กลุ่มแบบมาราธอนโดยใช้ทฤษฎีการให้คำปรึกษา แบบเกสตัลท์ที่มีผลต่อการพัฒนาสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

[14] รสสุคนธ์ ฤาชาเกียรติกุล. 2550. ความคิดเห็น เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการธนาคาร HSBC ประเทศไทย ที่มีผลต่อความจงรักภักดีในองค์กร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[15] ศิริวรรณ ฉายศิริ. 2550. ขวัญ กำลังใจของบุคลากร ใน การทำงาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 7(1), น. 246-251.

[16] จีรนันท์ ดวงคำ. 2551. ความภักดีต่อองค์กรของวิศวกรในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์: กรณีศึกษาบริษัทเวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

[17] สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. 2550. วัฒนธรรมองค์การ. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2556, จาก https://www.eric.uoregon.edu/publications/ digestes/Digesto91.html.

[18] ธงชัย สันติวงษ์. 2546. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.