การออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

สุวรรณา ทองคำ
บุญจันทร์ สีสันต์
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น และประสบการณ์การสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 269 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ LSD ผลการวิจัยพบว่า


     1) การออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งรายด้านและภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง


     2) ครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น และประสบการณ์การสอนต่างกัน มีการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
ทองคำ ส., สีสันต์ บ., & ตั้งคุณานันต์ ป. (2015). การออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 137–144. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124463
บท
บทความวิจัย

References

[1] สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2555. สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อการศึกษา Social Media for Education. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2556, จาก https://www.addkutec3.com

[2] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

[3] อาทิพย์ สอนสุจิตรา. 2552. การพัฒนาระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานสำหรับครูสังกัดโรงเรียน ในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[4] คณะกรรมการมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย. 2555. แผนยุทธศาสตร์มูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2553-2558). กรุงเทพฯ: มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย.

[5] ทิศนา แขมมณี. 2547. ศาสตร์ : องค์ความรู้เพื่อ การจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[6] พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. 2550. ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[7] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2554. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] ธนาพจน์ ศรีคำเวียง. 2552. สภาพการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการความรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์(คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[9] มนต์ชัย เทียนทอง. 2545. การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[10] เอกนฤน บางท่าไม้. 2553. เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการบูรณาการกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 11(2), น. 41-52.

[11] วิลัยวรรณ์ ยุพากิ่ง. 2554. ความรู้และปัญหาการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของครูระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนนำร่องในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[12] นิวัตร เกษแก้ว. 2553. ปัญหาและความต้องการในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูโรงเรียนอัสสัมชัญ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 9(1), น. 185-193.

[13] ชิษณุพงศ์ พรวนต้นไทร. 2556. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.