การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องฟังก์ชัน

Main Article Content

พงศกร สุคลธา
ธนินทร์ รัตนโอฬาร
ผดุงชัย ภู่พัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องฟังก์ชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องฟังก์ชัน กับกลุ่มนักเรียนที่เรียนแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาการเขียนโปรแกรมขั้นประยุกต์ ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ปีการศึกษาที่ 2/2557 ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) 3 ห้องเรียน จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องฟังก์ชัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 25 ข้อ และแบบประเมินคุณภาพ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.29-0.79 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25-0.58 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t-test) แบบ Independent


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องฟังก์ชัน มีค่าคุณภาพเฉลี่ยด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.71, S.D. = 0.38) และมีค่าคุณภาพเฉลี่ยด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.61, S.D. = 0.45) และมีประสิทธิภาพ E1:E2 เท่ากับ 80.83: 81.67 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน 2) กลุ่มนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องฟังก์ชัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (กลุ่มที่ใช้บทเรียน gif.latex?\bar{x}= 20.04 กับ กลุ่มที่เรียนแบบปกติ   gif.latex?\bar{x} = 18.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สุคลธา พ., รัตนโอฬาร ธ., & ภู่พัฒน์ ผ. (2015). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องฟังก์ชัน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 188–195. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124403
บท
บทความวิจัย

References

[1] ปิติพร ศรีกาญจน์. 2551. การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่อง R-L R-C และ R-L-C ในวงจร ไฟฟ้ากระแสสลับวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[2] กิดานันท์ มะลิทอง. 2540. เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[3] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. การสอนบนเว็บ(Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(28), น. 87-94.

[4] บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. 2544. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา: หนังสือเสริมประสบการณ์ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ.

[5] ณัฐกร สงคราม. 2553. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[6] Hannafin, Susan, Kevin. 1999. Open Learning Environments: Foundations, Methods and Models In Charles M. Reigluth (ED), Instructional Design Theories And Models: A New Paradigm of Instructional Theory. Volume II New jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

[7] Jonassen D. H. et al. 2003. Learning to Solve Problems with Technology; A Constructivist Perspective. 2nd ed. Ohio: Merrill Prentice Hall.

[8] Cunningham, D. J., & Knuth, r. 1993. Tools for constructivism, In T. Duffy, J. Lowyck & D.

[9] ประวิทย์ สิมมาทัน. 2552. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

[10] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2521. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[11] Anderson, L.W, and Krathwohl, D.R. 2001. A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman.

[12] ณัฐพล ธนเชวงสกุล. 2555. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องวัฏจักรทางเทคโนโลยี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 3(11), น.45-53.

[13] ณัฐกร สงคราม. 2552. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการแก้ปัญหาทางการถ่ายภาพ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ค้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2558, จาก https://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/article/phootcai.pdf

[14] พรรณรวี สงวนพงษ์. 2555. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อการทบทวน เรื่อง ความรู้เบื้องต้นของหลักการเขียนโปรแกรม สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 2(11), น.55–63.