ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์กร ความเครียดในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิต ในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2 จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

น้ำผึ้ง คำนวณศิลป์
นาวุฒิ ประกอบผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้บรรยากาศในองค์กร ความเครียดในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศในองค์กรกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมและ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2 จังหวัดชลบุรี จำนวน 359 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.924 แล้ววิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2 จังหวัดชลบุรี มีการรับรู้บรรยากาศในองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีความเครียดในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันมีผลทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ .05 3) การรับรู้บรรยากาศองค์กรโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ .01 4) ความเครียดในการปฏิบัติงานโดยรวมมีความสัมพันธ์กันกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และรายด้าน ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพ ด้านโครงสร้างนโยบายและบรรยากาศในองค์กร มีความสัมพันธ์กันกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

Article Details

How to Cite
คำนวณศิลป์ น., & ประกอบผล น. (2017). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์กร ความเครียดในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิต ในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2 จังหวัดชลบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(1), 131–139. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/123943
บท
บทความวิจัย

References

[1] Vepavee Sripiean. 1994. Development quality of life of labor. Journal of Labour. 36(2), P. 8-9.

[2] Narkrod, W. 2014. Organizational commitment of employees in metal forming japanese factory In amatanakorn industrial estate chonburi. Journal of Industrial Education. 13(1), P. 78-85.

[3] Taro Yamane. 1967. Statistics: an introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper& Row.

[4] Chomruthai Thongnuch. 2013. Relationships among Perceived Organizational Climate, Job Stress and Quality of Worklife of Professional Nurses : A Case Study of Public Hospitals in Pathum Thani. Master of Business Administration. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

[5] Cronbach, L.J. 1990. Essentials of Psychological Testing. 5th ed.. New York: Harper & Row.

[6] Walton, R. E. 1973. September. Quality of Working Lift: What is it?. Stone Management Review, 15(2), P.12-16.

[7] Patama Wong-un. 2001. The Relationship between Perception of Organizational Climate and Quality of Work Life among Factory Workers : A Case Study of NMB Precision Balls Ltd. Master of Science (Industrial Psychology). Kasetsart University.

[8] Photjanee Thorsuwan. 2006. The Relationships between Perceived Organizational Climate, Perceived Self-Efficacy, Stress and Quality of Work Life of Employees at a Domestic - Export Garment Industrial Factory in Bangkok. Master of Science (Industrial Psychology). Kasetsart University.