การศึกษาและพัฒนาชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี

Main Article Content

ธนัญญา อ่อนศรี
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาและพัฒนาชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ5-6ปี เพื่อพัฒนาชุดเครื่องเล่นสนามให้เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง มุ่งเน้นพัฒนาการทักษะตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย ด้านจิตพิสัยผู้วิจัยทำการติดตั้งชุดเครื่องเล่นสนามทดลองภายในพื้นที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี 2) เพื่อพัฒนาชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปีที่มาเล่นชุดเครื่องเล่นสนามในสวนสาธารณะชุมชนหน้าพระตำหนัก อำเภอเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือแบบสังเกตพฤติกรรม (Observation Report)  2) แบบสำรวจเครื่องเล่นสนามของเดิม (Survey Report) 3) แบบประเมินความคิดเห็นแบบร่างของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีต่อชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย(x̄)และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)                


ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี คือ ชุดเครื่องเล่นสนามที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย ด้านจิตพิสัย 2) การพัฒนาชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ5-6 ปี ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบร่างชุดเครื่องเล่นสนามมา 3 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมากมีค่า มากที่สุด(x̄ =4.60, S.D.=0.23) 3) การประเมินความพึงพอใจชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ5-6 ปี ด้านการเรียนรู้จากการสังเกตพฤติกรรมการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทักษะตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่า(x̄ =4.53, S.D.=0.45) ด้านจิตพิสัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า (x̄ =4.4, S.D.=0.40)  ด้านทักษะพิสัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า (x̄ =4.38, S.D.=0.26) และด้านการประเมินความพึงพอใจโดยผู้ปกครองที่มีต่อชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี พบว่าในภาพรวมของการประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า ( x̄ =3.74, S.D.=0.62)

Article Details

How to Cite
อ่อนศรี ธ., & เอกวุฒิวงศา ท. (2017). การศึกษาและพัฒนาชุดเครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(1), 95–103. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/123871
บท
บทความวิจัย

References

[1] Ministry of Education, Bureau of Academic Affairs and Educational Standards (2003) .Manual of Program in Early Childhood Education of A.D. 2003. Bangkok : Kurusapa Printing Ladphrao.

[2] Ketsala Manajuti 1996. Learning Media and Pre-School Child Playthings. Chiangmai : Interdisciplinary Studies of Chiangmai ,Chiangmai College Teacher.

[3] Ministry of Public Health, Health Research Network of National Public Health Foundation 2003. Safety Regulations of Playground and Playground Equipment, Installing, Maintenance, Child Care Workers. Bangkok : Ramathibodi Hospital.

[4] Nirat Sudsang. 2005. Research and Designing of Industrial Products. Bangkok : Odeon Store.

[5] Phanthip Siriwanbut. 2013. Development Psychology. Sixth Editions. Bangkok: Chulalongkorn University.

[6] Udomsak Saribut. 2006. Designing Technology of Industrial Products. Bangkok: Odeon Store.

[7] Manathalee Sasananan. 2007. Designing Products of Innovations and Reverse Engineering. Bangkok : Thammasat University.

[8] Chongchit Wongsuwan, Thaninrattanaoran and Piriyaporn Tangkunanan. 2015. Component Analysis of Knowledge Management Process for Crown Property Bureau. Journal of Industrial Education, 14(1), p.91-98.