การศึกษางานออกแบบเมืองเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เขตอุตสาหกรรม กรณีศึกษา : อินชอน อาร์ท แพลตฟอร์ม (Incheon Art Platform) มหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี

Main Article Content

มิยอง ซอ

บทคัดย่อ

มหานครอินชอนแบ่งออกเป็น 8 เขต (เรียกว่า กู : Gu ในระบบการปกครองท้องถิ่นของสาธารณรัฐเกาหลี) และเทศมณฑลอีก 2 แห่ง (เรียกว่า กุน : Gun) เขตจุงกู (Jung-gu) ซึ่งเป็นย่านใจกลางเมืองเก่าของอินชอนนั้นได้นำการวางผังเมืองมาปรับใช้เป็นแห่งแรกในประวัติศาสตร์เกาหลี ตั้งแต่การเปิดท่าเรือในปีค.ศ. 1883 บริเวณนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการค้าและการท่องเที่ยวชายทะเล ตลอดจนเป็นสถานที่ของหน่วยงานสาธารณะ รวมถึงที่ว่าการเขตและสำนักงานอัยการ ก็ตั้งรวมกันอยู่ในเขตนี้ อย่างไรก็ตาม เขตจุงกูก็ค่อย ๆ เสื่อมลงหลังจากยุค 80 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐ และการที่หน่วยงานรัฐหลายแห่งย้ายไปตั้งอยู่ที่ใจกลางเมืองใหม่ ในกรณีของมหานครอินชอนในขณะนี้ การฟื้นฟูเมืองได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเมือง ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการจะเน้นให้เห็นว่าการฟื้นฟูเมืองมีความสำคัญอย่างไรบ้างต่อสภาพแวดล้อมของเมือง ผ่านกรณีศึกษาของมหานครอินชอน


วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นไปเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองให้แข่งขันได้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์พื้นที่ทางวัฒนธรรมเมืองของ Art Platform ที่มหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี การศึกษานี้ดำเนินไปบนพื้นฐานของทฤษฎีการฟื้นฟูเมือง โดยวิจัยพัฒนาการด้วยการเปรียบเทียบกับทางประวัติศาสตร์และอุตสาหกรรมในกรณีศึกษาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ : โกดังอิฐแดงเมืองโยโกฮามา (Yokohama Red Brick Warehouse) ประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์แห่งเมืองบิลเบา (Guggenheim Museum of Bilbao) ราชอาณาจักรสเปน พิพิธภัณฑ์เทตโมเดิร์น (Tate Modern Museum) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ย่านมีทแพ็คกิ้ง (Meatpacking District) กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเขตศิลปะ 798 (798 Art Zone) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้วิจัยได้สำรวจสภาพแวดล้อมมรดกทางวัฒนธรรม ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยของพื้นที่อื่นที่ถูกสร้างขึ้นของพื้นที่ต่าง ๆ ควบคู่กันไปในมหานครอินชอน  และผู้วิจัยยังได้ทำการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คุณค่าของอาคารอุตสาหกรรมที่ถูกทิ้งร้าง และประเด็นที่บริบททางสังคมและท้องถิ่นได้ก่อให้เกิดความต้องการอนุรักษ์สิงเหล่านี้ในเขตจุง-กู มหานครอินชอน หลังจากการสำรวจภาคสนามที่อินชอน อาร์ท แพลตฟอร์ม (Incheon Art Platform) พบว่ามีปัจจัย 5 ประการ ได้แก่ 1) การเปรียบเทียบผลประโยชน์ 2) การเข้าถึงพื้นที่ 3) สถานการณ์การวางแผน 4) ระบบปฏิบัติการ และ 5) ความเป็นไปได้ในการพัฒนา


ผลการวิจัยนี้ สามารถเป็นแนวทางการฟื้นฟูเมืองพื้นที่อุตสาหกรรมที่ถูกทิ้งร้างมาปรับปรุงใหม่ ด้วยวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์ จึงฟื้นฟูจากพื้นที่ที่เคยถูกพัฒนาอย่างไม่มีแบบแผนและมีสิ่งแวดล้อมถูกทำลายจนเสื่อมโทรมจนส่งผลให้เมืองใหญ่ ๆ ได้พยายามค้นหาวิธีเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยครั้งนี้สามารถนำเสนอทางเลือกที่ปฏิบัติได้ โดยไม่เพียงแต่ผนวกเอาประวัติศาสตร์ภูมิภาคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเข้ากับลักษณะพิเศษทางวัฒนธรรมเข้าด้วยกันเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่แข่งขันได้ในระดับภูมิภาคอีกด้วย

Article Details

How to Cite
ซอ ม. (2017). การศึกษางานออกแบบเมืองเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เขตอุตสาหกรรม กรณีศึกษา : อินชอน อาร์ท แพลตฟอร์ม (Incheon Art Platform) มหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(1), 85–94. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/123870
บท
บทความวิจัย

References

[1] Oh, J.G. 2013. A Study on the Reciprocal Publicity-based Space Renewal of Industrial Sites. Doctoral dissertation, Graduate School of Seoul National University. South Korea.

[2] Yu, S. H. 2013. A study on the space design value factors for urban vitalization. Master thesis, Graduate school of art and design, Kyonggi University.

[3] The Yokohama Red Brick Warehouse. [online]. Retrieved 15 October 2016 from https://www.yokohama-akarenga.jp

[4] Bilbao Guggenheim Museum. [online]. Retrieved on 15 October 2016 from https://www.guggenheim.org/bilbao

[5] Dashanzi Art District. [online]. Retrieved on 5 October 2016 from https://www.798art.org

[6] Meatpacking District. [online]. Retrieved on 15 October 2016 from https://www.meatpacking-district.com

[7] Tate modern Museum. [online]. Retrieved on 15 October 2016 from https://www.tate.org.uk/visit/tatemodern

[8] Incheon Metropolitan City. 2012. Incheon Metropolitan City Urban Basic Development Plan-Revised. Incheon Metropolitan City.

[9] Mun, K. S. 2012. A Study on the Sense of Place in Incheon Port’s Cultural District: A case of Incheon Art Platform. Master Thesis, Graduate School of Inha University, South Korea.

[10] Incheon Development Institute. 2010. Image of Incheon; A Metropole with Ever-changing and Ever-lasting Attraction. Incheon Metropolitan City.

[11] Phutkao, P., Sindhuphak A., &Louhapensang C. 2015. Publication media corporate identity design of an urban conservation network in Pomprabsattrupai–Pranakorn area. Journal of Industrial Education, 14(2), p. 349.