การพัฒนาลวดลายผ้าไหมทอมือสำหรับการซักด้วยเครื่องกรณีศึกษา กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง

Main Article Content

ชนัษฎา จุลลัษเฐียร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาลวดลายผ้าไหมทอมือสำหรับการซักด้วยเครื่องซักผ้า (2) เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ขั้นตอนการออกแบบลายผ้าโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม (3) เพื่อจัดทำมาตรฐานการย้อมผ้าทอด้วยสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง   ผลการจัดทำมาตรฐานการย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มมีการย้อมทั้งหมด 6 สี จากครั่ง สบู่เลือด เปลือกประดู่ ประโหด มะเกลือ และคำแสด โดยทำการทดสอบคุณสมบัติความคงทนของสีต่อแสง ต่อการซักและต่อเหงื่อพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 4 - 4.5 จาก 5 คือมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อันแสดงถึงคุณภาพในกระบวนการการย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มฯ ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้การออกแบบลายผ้าที่เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.26)  และผลการออกแบบลวดลายและเทคนิคการทอบนพื้นฐานการกำหนดตลาดเป้าหมายจากฐานลูกค้าเดิมและความต้องการของกลุ่มฯ คือ ลายผ้าทอมือ 4 กลุ่มสี ที่เน้นลายมัดหมี่เป็นหลักเพื่อให้ได้ผ้าที่มีโครงสร้างแข็งแรง และมีการสุ่มตัวอย่างผ้าไหมทอมือต้นแบบเพื่อนำไปตรวจสอบความทนทานต่อการซักด้วยเครื่องซักผ้าฝาหน้าตามมาตรฐาน มอก.121 พบว่าตัวอย่างผ้าไหมทอมือที่สามารถทนทานต่อการซักด้วยเครื่องซักผ้ามีโครงสร้างการทอเป็นลายขัด สาวเส้นไหมด้วยมือโดยใช้เครื่องสาวไหมแบบพันเกลียวในตัวและตีเกลียวซ้ำด้วยเครื่องมือพื้นบ้าน เส้นยืนและเส้นพุ่งมีขนาดใกล้เคียงกันที่ 146.6/147.4 ดีเนียร์  มีจำนวนเกลียวเส้นยืนและเส้นพุ่งต่างกันที่ 5.3/0.5 เกลียวต่อนิ้ว การทดสอบการซักในถุงตาข่ายซักผ้า พบว่ามีการหดตัวน้อยมากคือ -0.95% และ -0.81% (เส้นยืน/เส้นพุ่ง)

Article Details

How to Cite
จุลลัษเฐียร ช. (2017). การพัฒนาลวดลายผ้าไหมทอมือสำหรับการซักด้วยเครื่องกรณีศึกษา กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(1), 58–67. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/123862
บท
บทความวิจัย

References

[1] Information and Communication Division. Chaiyaphum Provincial Office. Chaiyaphum Province. Retrieved August 25, 2012, from https://123.242.176.168/

[2] Kritsanaphon, W. 2003. Sustainable Design. Bangkok: OS Printing House.

[3] Chanasda, C. 2010. A study of lao thurng tribe’s handicraft textile for development of contemporary products design. Doctor of Philosophy (Products Design), Ubonratchathani University.

[4] Boonchom, S. 2000. Preliminary Research. Bangkok: Suwiriyasat.

[5] Pantone World Headquarters. 2015. Find a PANTONE Color. Retrieved June 16, 2012, from https://www.pantone.com/color-finder

[6] Udale, J. 2008. Textiles and Fashion. Switzerland: AVA Publishing SA.

[7] Thitsana K. 2013. Cippa Model Learning Principles. Retrieved July 20, 2013, from https://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=88655

[8] Anuchit C., et al. 2004. Denchai Silk-Reeling Research and Development. Research Report. The Queen Sirikit Department of Sericulture. Retrieved July 20, 2013, from www.gsds.go.th