ผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ของร้านไนน์เจมส์ และร้านเรียลเจมส์

Main Article Content

ประภัสสร เถรวัลย์
วรนารถ แสงมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ของผู้บริโภคของร้านไนน์เจมส์ และร้านเรียลเจมส์ และ (2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ของผู้บริโภคร้านไนน์เจมส์ และร้านเรียลเจมส์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ของร้านไนน์เจมส์ และร้านเรียลเจมส์ จำนวน 197 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ(Multiple Linear Regression) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่าระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ ต่อร้านไนน์เจมส์ (Nine Gems) และร้านเรียลเจมส์ (Real Gems) โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดย ด้านพนักงานผู้ให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ของร้านไนน์เจมส์ และร้านเรียลเจมส์โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ของร้านไนน์เจมส์ และร้านเรียลเจมส์โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านกระบวนการให้บริการไม่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ของร้านไนน์เจมส์ และร้านเรียลเจมส์โดยรวม

Article Details

How to Cite
เถรวัลย์ ป., & แสงมณี ว. (2015). ผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อเครื่องประดับและอัญมณีแท้ของร้านไนน์เจมส์ และร้านเรียลเจมส์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 631–638. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122991
บท
บทความวิจัย

References

[1] สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). 2558. สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2558. ค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558,จากhttps://gemandjewelrydb.git.or.th/GemProject/Gemfiles/non-member/ExportAnalysis_Jan-Oct15.pdf

[2] ดนัย บุญญานุเคราะห์. 2549.พฤติกรรมการซื้อเครื่องประดับและอัญมณีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bunyanukhloa D. 2006. Buying Behavior Toward Jewelry of Consumer in Bangkok.Dissertation in Master of Business Administration degree in Marketing Srinakharinwirot University

[3] กัลยา จังจุติกุล. 2553.พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับแท้สำหรับผู้ชายของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Jangjutikul K. 2010. Behavior and Factors Affecting Buying Decision of Jewelry for Men in Bangkok. Dissertation in master of Economics Thammasat University.

[4] ประคอง กรรณสูตร. 2542.สถิติศาสตร์ประยุกต์สำหรับครู. กรุงเทพมหานคร:ไทยวัฒนาพานิช.

[5] ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2537. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[6] เอมอร เหล่าวัฒนา. 2549.กระบวนการตัดสินใจซื้ออัญมณีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการตลาด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Laowatana E. 2006. The Decision-Making Process of the Consumer in Purchasing Gems in Bangkok. Dissertation in Business Administration Graduate School Dhurakij Pundit University.

[7] ภัทรพิมพ์ พิมพ์ภัทรยศ. 2546.พฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าเครื่องประดับอัญมณีในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Pimpattarayos P. 2003. Consumer Behavior of the Jewelry Products in Amphoe Mueang, Changwat Chiang Mai. Dissertation in Business Management Administation Chiang Mai University.

[8] กมลวรรณ เฉลยบุญ. 2554. การรับรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่แสดงฉลากสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 10(2).น. 84-96.
Chaloibun K. 2011. Perception and Factors Affecting Consumer’s Purchase Decision on Textile Products with Eco-Label of Consumers in Bangkok. Journal of Industrial Education. 10(2). p. 84-96.