ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของ พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทสุรากระทิงแดง (1988) จำกัด 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จำกัด กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานระดับปฏิบัติการจำนวน 207 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.900 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่าระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จำกัด อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านนโยบายและการบริหาร ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านความสำเร็จในหน้าที่การงาน ด้านลักษณะของงาน และด้านความรับผิดชอบ มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 63 ส่วนปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานไม่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Herzberg, F. 1959. The motivation to work. New York: John Wiley & sons
[3] ประคอง กรรณสูต. 2542.สถิติศาสตร์ประยุกต์สำหรับครู. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
[4] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543.วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2553. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.กรุงเทพฯ : บิซิเนสอาร์แอนด์ดี
[6] ชูเกียรติ ยิ้มพวง. 2554.แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาบริษัท บางกอกกล๊าส จำกัดโรงงานจังหวัดปทุมธานี.การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[7] ชนาทิพย์ พลเสน. 2554. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการใน โรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กรณีศึกษาบริษัท เคแอลเค อินดัสตรี จำกัด.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(3), น. 324-336.
Polsen, C. 2011. Work Motivation and Organizational Commitment of Employees in Automotive Enterprises: Case Study of KLK Industry Company Limited. Journal of Industrial Education, 10(3), p. 324 – 336
[8] เสกสรร อรกุล. 2555. ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เมทเทิล คอม จำกัด.การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี.
Orakul, S. 2012. Motivation Factor Affecting Employee Performance Efficiency at Metalcom Company. Independent Study in Master of Business Administration. Graduate School Sripathum University Chonburi Campus.
[9] นันทวันท์ วัลยะเพ็ชร์. 2554.ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลการปฏิบัติงานของหัวหน้างานบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืชแห่งหนึ่ง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Wanlayapetch, N. 2011. The Relationship between Transformational Leadership, Achievement Motive and Job Performance of Supervisor in Seed Producer Company. Independent Study in Master of Science. The Graduate School Kasetsart University.
[10] นิยม จับใจสุข. 2555.ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Jabjaisuk, N. 2012. The Relationship between Quality of Work Life and Working Motivation of Functions Staff at Provincial Electricity Authority. Thesis in Master of Public Administration. Sukhothai Thammathirat Open University.
[11] กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. 2553.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553). ค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม2558, จาก https://www.labour.go.th/Department of Labour Protection and Welfare. 2010.
[12] รุ่งลักษณ์ แสงรัตนทองคำ. 2552.แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาบัณฑิต สาขาการบริหารอาชีวศึกษา.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Saengrattanatongkham, R. 2009. Working Motivation of Operational Employees at Asiasoft Corporation Public Company Limited. Thesis in Master of Industrial Education in Vocational Administration.King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
[13] อิสรีย์ ไทรตระกูล. 2553. แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฝาง จังหวัด เชียงใหม่.การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
[14] สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. 2541.พฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีและการประยุกต์.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.