ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาตนเองของครู และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 260 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 มีการพัฒนาตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37,S.D.= .40) และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการรับรู้ในความสามารถของตนเอง (X2) ด้านความทะเยอทะยาน (X3) และด้านการสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา (X4) สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ได้ร้อยละ 58.60 และนำมาสร้างสมการพยากรณ์การพัฒนาตนเองของครู ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = .917 + .385(X2) + .271(X3) + .106(X4)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน y= .413(X2) + .315(X3) + .176(X4)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2556.บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพนักเรียน. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
[3] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2554.การประเมินความจำเป็นในการพัฒนาสมรรถภาพครูเทคโนโลยีสารสนเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,10(1), น.11-20.
Leekitchwatana, P. 2011. Needs Assessment for Development on Competency of Information Technology Teachers at Lower Secondary Education Level of Schools under the Office of the Basic Education Commission. Journal of Industrial Education, 10(1), p. 11-12.
[4] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.2553. คู่มือการประเมินสมรรถนะครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
[5] ประพิศ กุลบุตร. 2556.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยทักษิณ.
Kullabude, P. 2013. Factors Affecting Self-Development According to Ethical Codes of Professional Teacher Career of Teachers in Schools under the Office of the Private Education Commission Songkhla. Master thesis, Master of Education degree in Educational Administration. Graduate School, Thaksin University.
[6] นิตยา กัณณิกาภรณ์. 2553. การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยา บรรณวิชาชีพครูของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Kannikapon, N. 2010. A Study of Factors Affecting Self-development According to Ethical Codes of Professional Teacher Career of Teachers Under the Bangkok Metropolitan Administration Schools.Master thesis, Master of Education degree in Educational Research and Statistics. Graduate School, Srinakharinwirot University.
[7] รัตนวดี โชติกพนิช. 2550. จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพครู.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[8] ภูมิชัย ทิพเนตร. 2550.ความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Tippanet, P. 2007. The Need for Self-Development of Teachers in Secondary Schools under Suphanburi Educations Service Area Office 1. Master thesis, Master of Education in Educational Administration. Graduate School,Phranakhon Rajabhat University.
[9] Bandura, A. 1977. Social Lerning Theory. New Jersey : Prentice-Hall.
[10] อรอุษา จันทคร. 2551.การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ของครูในเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการวัดผลการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
CHANTHAKHON, O. 2008. A study of the Relationship Between Some Factors and Self Development of Teachers on Professional Standards in the Office of Nakhon Pathom Educational Area II. Master thesis, Master of Education degree in Educational Measurement. Graduate School, Srinakharinwirot University.
[11] Murray, E.J. 1964. Motivation and emotion. Englewood Cliffs,N.J. : Prentice-Hall.