บทเรียนออนไลน์เพื่อการทบทวน เรื่อง การควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อการทบทวน เรื่อง การควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบทักษะในการควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อการทบทวนกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสตรีอ่างทอง ปีการศึกษา 2557 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มจำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อการทบทวน เรื่อง การควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ แบบทดสอบวัดทักษะ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกันแบบความแปรปรวนเท่ากัน ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนออนไลน์เพื่อการทบทวน เรื่อง การควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (=4.44, S=0.54) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (
=4.21, S=0.41) และมีประสิทธิภาพ E1/E2= 81.82/84.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและทักษะของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อการทบทวนมีทักษะในการควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ (
=32.83, S=2.54) สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีแบบปกติ (
=29.20, S=1.6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน.2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
[3] ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. 2554.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2554–2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://www.sea12.go.th/ict/ict_plan/ict_moe.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 16 มิถุนายน 2557)
[4] กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงาน. 2555.อีเลิร์นนิ่งคือ?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://elearning.stkc.go.th/lms/html/faq/faq6.html (วันที่ค้นข้อมูล 16 มิถุนายน 2557)
[5] ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์. 2555. การเรียนรู้เชิงผสมผสาน2.0ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยอินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่น. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิ่ง 2555 ณ อาคาร 9 อิมแพคเมืองทองธานี.
[6] บริษัท อินโนเวตีฟเอ็กเพอริเมนต์ จำกัด. 2537.IPST-BOT robot kit Activity manual การสร้างและทดลองเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติIPST-BOT. กรุงเทพฯ: อินโนเวตีฟเอ็กเพอริเมนต์.
[7] วิทวัฒน์ พัฒนา. 2553.การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ :ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[8] Ritchie, D.C.,and Hoffman, B.1997.Incorporating instructional design principles with the World Wide Web.In B.H. Khan (Ed.) Web Web-basedInstruction.Englewood Cliffs, New Jersey Educational Technology Publications. p. 135-138
[9] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2520.ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[10] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และไพบูลย์ เกียรติโกมล.2541. Creating IMMCAI Package.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 1(2), น. 14-18.
[11] ประเวศ เวชชะ. 2529.รายงานเรื่องการสร้างแบบวัดผลงานภาคปฏิบัติการรำวงมาตรฐานเพลงชาวไทยท่ารำชักแป้งผัดหน้า. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[12] ไพรบูลย์ กุลด้วง ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี และฉันทนา วิริยเวชกุล. 2556.บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริงเรื่องการควบคุมระบบไฟฟ้อุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), น. 212 - 219.
[13] โสภัทร นาสวัสดิ์. 2552.การเรื่องพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียงสำหรับนักศึกษาสาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ในสถาบันอุดมศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[14] ลลิตา ยังคง. 2553.ความสามารถด้านทักษะปฏิบัติของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยเสริมชุดการแสดงทางวิทยาศาสตร์.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.