ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา และเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์จัดการเรียนรู้ และขนาดของโรงเรียนที่สังกัด กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา เขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 223 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test for Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe/ ผลการวิจัยพบว่า
- ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง
- ครูระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีประสบการณ์จัดการเรียนรู้ต่างกัน มีปัญหาการจัดการเรียนรู้ทั้งภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ครูระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่สังกัดโรงเรียนขนาดต่างกัน มีปัญหาการจัดการเรียนรู้ทั้งภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่สังกัดโรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาแตกต่างจากครูที่สังกัดโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และครูที่สังกัดโรงเรียนขนาดกลางมีปัญหาแตกต่างจากครูที่สังกัดโรงเรียนใหญ่ขนาดกลางมีปัญหาแตกต่างจากครูในโรงเรียนใหญ่
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. (2558) . ผลการสอบโอเน็ตของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. (เอกสารอัดสำเนา)
[3] กิมดา วาจาสัตย์. 2550. ปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาในกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[4] ศุภลักษณ์ จิรธนรัตน์. 2550. การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สมุทรปราการเขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
[5] อำไพจิตร ไชยพันธ์. 2554. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรี.ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
[6] พนิดา ปานออ. 2546. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตตลิ่งชัน . การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[7] สมบัติ จันทร์กระจ่าง. 2546. ปัญหาการจัดการเรียนการสอน สิ่งแวดล้อมศึกษาของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.