การสร้างนักวิจัยท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อค้นหาความมั่นคงในอาชีพและมีชีวิตที่ดีบนแผ่นดินเกิด

Main Article Content

วรรณดี สุทธินรากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านการเรียนรู้จากการสำรวจปัญหาในภาคเกษตรกรรม และพัฒนาโครงการวิจัยที่นำไปสู่การแก้ปัญหาความมั่นคงในอาชีพและการมีชีวิตที่ดีบนแผ่นดินเกิดโดยนักวิจัยท้องถิ่น เป็นการวิจัยที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกากญอ เลอเว๊อะและลาหู่ จำนวน 35 คน ในพื้นที่ภูเขาสูง จังหวัดเชียงใหม่และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้มีความสามารถในการวิจัยโดยเริ่มต้นศึกษาปัญหาความมั่นคงในอาชีพและการมีชีวิตที่ดีกับคนในชุมชน 5 หมู่บ้าน รวม 242 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้คือแผนที่เดินดินและแบบสำรวจข้อมูลในอาชีพ แบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้าง และการประชุมกลุ่มเพื่อแสดงความเห็นการมีชีวิตที่ดี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 พื้นที่ขาดความมั่นคงในอาชีพ เนื่องจากที่ดินทางการเกษตรไม่มีเอกสารสิทธิ์ รายได้จากภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 40,000-80,000 บาทต่อปี ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ คนในชุมชนแก้ปัญหาด้วยการเกื้อกูลกันผ่านกลไกวัฒนธรรมชุมชน โดยจัดกิจกรรมธนาคารข้าว และผ้าป่าข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีฐานะด้อยกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 พื้นที่มีปัญหาการมีชีวิตที่ดีในเรื่องของอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน รวมทั้งไม่ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ในอาชีพและการมีชีวิตที่ดีที่ตรงกับความต้องการของชุมชนตามจังหวะเวลาที่เหมาะสม จากปัญหาที่พบกลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจึงได้พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อหาทางออกในการสร้างความมั่นคงในอาชีพและการมีชีวิตที่ดีให้กับชุมชนของตนเอง ผ่านการปรับปรุงระบบการผลิตที่ใช้วิธีการของเกษตรผสมผสานที่เชื่อมโยงกับตลาดทางเลือกที่พอเหมาะกับระบบการผลิต โดยมีการบริหารจัดการที่ดีบนฐานความรู้และสำนึกรับผิดชอบในการผลิตอาหารปลอดภัย

Article Details

How to Cite
สุทธินรากร ว. (2016). การสร้างนักวิจัยท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อค้นหาความมั่นคงในอาชีพและมีชีวิตที่ดีบนแผ่นดินเกิด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(3), 98–104. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122736
บท
บทความวิจัย

References

[1] พณพฤษ อุดมกิตติ. 2554. เขตวัฒนธรรมพิเศษกับความจริงที่เกิดขึ้นของกลุ่มชาติพันธุ์. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2558 จาก www.sac.or.th/main/content_detail.php? content_id=198. [ออนไลน์].

[2] ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. 2539. “ความรุนแรงกับมายาการแห่งอัตลักษณ์” ใน สันติทฤษฎี/วิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง.

[3] Probst, T. M. 2002. The Impact of JobInsecurity on Employee Work Attitudes, Job Adaptation, and Organizational Withdrawal Behaviors. In J. M. Brett & F. Drasgow (eds.) The Psychology of Work: Theoretically Based Empirical Research. Mahwah, NJ:Lawrence Erlbaum Associates.

[4] Gregg, P. and J. Wadsworth. 1989.A Short History of Labour Turnover,Job Tenure, and Job Security. Oxford Review of Economic Policy, 11 (1), p.1975-1993.

[5] Heckman, J. J. and C.. S.Pages. 2000.The Cost of Job Security Regulation: Evidence from Latin American Labor Market. Journal of the Latin American and Caribbean Economic Association,1 (1), p.109 -154.

[6] Kugler, A. D. 2004. The Effect of Job Security Regulations on Labor Market. University of Chicago Press, November 16-17, 2004, 183-228.

[7] วรรณดี สุทธินรากร และคณะ. 2558. การบริหารจัดการที่ดีและเส้นทางสู่การเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถใน อาชีพและการมีชีวิตที่ดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), น. 171-177.

[8] ทิวาพร เพิลล์มันน์. 2555. การพัฒนาคุณภาพชีวิต ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2557 จาก www.stou.ac.th/study/sumrit/1154(500)/page1-11-54(500).html [ออนไลน์].

[9] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 2551. แนะหลัก 6 อ. สร้างสุขภาพคนไทย ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2557 จาก www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/5331. [ออนไลน์].