การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนบทคัดย่อรายงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยโดยใช้คลังข้อมูลภาษา

Main Article Content

Anon Ua-umakul
Jirapa Vittayapirak

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบสาเหตุความผิดพลาดในการเขียนโดยใช้คลังข้อมูลภาษากลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 5) จำนวนสองกลุ่ม ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร และลงทะเบียนเรียนในวิชาเทคนิคปฏิบัติการฟิสิกส์ ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยใช้การสุ่ม   อย่างง่ายและแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) บทคัดย่อรายงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์จำนวน 540 ฉบับ (2) แบบบันทึกและจัดประเภทข้อผิดพลาดในการเขียน (3) แผนการจัดการสอน เรื่อง การเขียนบทคัดย่อรายงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ และ (4) แบบสัมภาษณ์สำหรับตรวจสอบสาเหตุความผิดพลาดในการเขียน หลังจากรวบรวมงานเขียนบทคัดย่อของนักเรียนเสร็จแล้วนำมาจัดสร้างคลังข้อมูลภาษา วิเคราะห์และจัดประเภทข้อผิดพลาดและสาเหตุความผิดพลาดในการเขียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ การคำนวณค่าความถี่และร้อยละของข้อผิดพลาดโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Markin4.2.2 และ AntConc3.2.4 การเปรียบเทียบความแตกต่างของความถี่ข้อผิดพลาดในการเขียนของนักเรียนสองกลุ่มใช้   การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อผิดพลาดด้านหน่วยคำที่เกิดขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การละคำนำหน้าคำนาม “the” (9.62%) การละคำนำหน้าคำนาม “a”หรือ “an” (8.35%) และความสอดคล้องกันของประธานและกิริยา (4.65%) (2) ข้อผิดพลาดด้านวากยสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การใช้กรรตุวาจก (5.79%) การวางตำแหน่งของคำกิริยาในประโยค (4.51%) และการใช้โครงสร้างแบบคู่ขนาน (3.87%). (3) ข้อผิดพลาดเชิงกลไกที่เกิดขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การใช้เครื่องหมายจุลภาค (9.85%) การใช้เครื่องหมายมหัพภาค (5.04%) และการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (2.75%) (4) ข้อผิดพลาดด้านศัพท์ พบว่ามีการสะกดคำผิดพลาด (8.72%) ซึ่งมากกว่าการใช้คำที่ออกเสียงใกล้เคียงกัน (0.15%) (5) ข้อผิดพลาดด้านความหมายคำที่เกิดขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงเกินไป (0.98%) การใช้คำปรากฏร่วม (0.97%) และการใช้คำที่มีความหมายกว้างเกินไป (0.71%) จากการวิเคราะห์พบว่า ความถี่ของข้อผิดพลาดใน การเขียนของนักเรียนสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สาเหตุหลักของความผิดพลาดในการเขียนคือ การนำกฎจากภาษาแม่มาใช้ (33.33%) และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางภาษา (31.93%)

Article Details

How to Cite
Ua-umakul, A., & Vittayapirak, J. (2016). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนบทคัดย่อรายงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยโดยใช้คลังข้อมูลภาษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 183–190. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122716
บท
บทความวิจัย

References

[1] Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D.2008). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand., Limited.

[2] Bazerman, C. (1995). The Informed Writer. 5thed. Boston: Houghton Mifflin.

[3] Sattayatham, A. and Ratanapinyowong, P. (2008). Analysis of Errors in Paragraph Writing in English by First Year Medical Students from The Four Medical Schools, Mahidol University. Silapakorn University International Journal, 8, 17-38.

[4] Nopjirapong, R. (2010). An Analysis of Article Error in Thai university student’s Composition. Master’s project,M.A. Bangkok: Graduate school, Srinakharinwirot University.

[5] Ratchawicha, S. (2012). An Error Analysis of Mattayom 3 Student’s Guided Compositions at Saint Anthony School, Chachonegsao Province. Research articles Graduate School of Language and Communication, 1, 12-21.

[6] Corder, S.P. (1981). Error Analysis and Interlanguage. Oxford: Oxford University.

[7] Ferris, D. (2002). Treatment of Error in Second Language Student Writing. Ann Arbor: University of Michigan Press.

[8] James, C. (1998). Errors in Language Learning and Use. England: Addison Wesley Longman.

[9] Bryan, P. (2010). Thesis Manual. Virginia: University of Virginia.

[10] Díaz-Negrillo, A. and García-Cumbreras, A. M. (2007). A tagging tool for error analysis on learner corpora. ICAME Journal, 31, 197-203.

[11] Harmer, J. (2007). The Practice of English Language Teaching. 4thed. London: Pearson Longman.

[12] Norrish, J. (1983). Language Learning and Their Errors. London: Macmillan Publisher

[13] Brown, H.D. (1980). Principles of Language Learning and Teaching. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

[14] Richards, J.C. (1971). A Noncontrastive Approach to Error Analysis. English Language Teaching Journal, 25, 204-219

[15] Yamane, Taro. 1967. Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed.New York: Harper and Row

[16] Nopjirapong, R. (2010). An Analysis of Article Errors in Thai university student’s Composition. Master’s project, M.A. Bangkok: Graduate school, Srinakharinwirot University.

[17] Bumroongthai, G. (2010). An Error Analysis in English Paragraph Writing by Students of the Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology PhraNakhon. Bangkok: Rajamangala University of Technology hraNakhon.